Join our community of SUBSCRIBERS and be part of the conversation.

To subscribe, simply enter your email address on our website or click the subscribe button below. Don't worry, we respect your privacy and won't spam your inbox. Your information is safe with us.

32,111FollowersFollow
32,214FollowersFollow
11,243FollowersFollow

News

Company:

Thursday, May 8, 2025

ผลเสียจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร

Share

ในโลกของเราใบนี้มีสารเคมีที่นุษย์เราผลิตขึ้นประมาณ 600,000 ชนิด ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์หรือ 60,000 ชนิด ใช้ในชีวิตประจำวัน และมีสารคมีที่เกิดใหม่ปีละ 1,000 ชนิด สารเคมีที่ใช้ทางการเกษตรพบว่าเป็นยาฆ่าเชื้อรา มากกว่า 250 ชนิด ยาฆ่าหญ้ามากกว่า 150 ชนิด

องค์กรอนามัยโลกได้สำรวจพบว่ามีคนป่วยเนื่องจากสารเคมีปีละ 3 แสนคนและเสียชีวิตปีละประมาณ 220,000 คน ร้อยละ 99 อยู่ในประเทศด้อยพัฒนา เนื่องจากอ่านภาษาอังกฤษไม่ออกจึงใช้สารเคมีที่นานาประเทศเขาห้ามใช้แล้วทั้ง ๆ ที่มีคำเตือนอยู่ที่ภาชนะบรรจุสารเคมี

สำหรับสถานการณ์การใช้สารเคมีการเกษตรในประเทศไทยเป็นดังนี้

  • ปี พ.ศ. 2489 มีการก่อตั้งองค์กรอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติหรือ FAO เกิดการปฏิวัติเขียวในปี พ.ศ. 2503 เพื่อให้มีอาหารที่เพียงพอต่อการบริโภค อันเนื่องจากเกิดภาวะอาหารขาดแคลนเพราะสงครามโลกครั้งที่ 2
  • ปี พ.ศ. 2517 ป่าไม้ของไทยถูกทำลายมากที่สุดเพื่อใช้พื้นที่ในการทำการเกษตร
  • ปี พ.ศ. 2526 เกิดโรคระบาดกระจายกันทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เนื่องจากมีการใช้สารเคมีทางการเกษตรกันมากโดยเฉพาะยากำจัดวัชพืช
  • ปี พ.ศ. 2530 ตรวจพบว่าประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร 9,738 ราย
  • ปี พ.ศ. 2531-2533 สำรวจพบว่าผักร้อยละ 6 และผลไม้ร้อยละ 3 มีสารเคมีตกค้างเกินค่ามาตรฐานความปลอดภัย
  • ปี พ.ศ. 2536 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากระทรวงสาชารณสุขเก็บตัวอย่างผักคะน้าที่จังหวัดนครราชสีมา นครสวรรค์ สุพรรณบุรี เพรชรบูรณ์ และ ปราจีนบุรี จำนวน 86 ตัวอย่าง พบสารเคมีตกค้างเกินค่ามาตฐานความปลอดภัยร้อยละ 13 ขณะที่กรมวิทยศาสตร์การแพพย์สำรวจพบว่ผลไม้ที่คนไทยนิยมบริโภค ได้แก่ องุ่น ชมพู่ พุทรา และละมุด 97 ตัวอย่าง พบสารเคมีตกค้างถึง 77 ตัวอย่าง โดยเฉพาะองุ่นและชมพู่ พบสารเคมีตกค้างเกินค่ามาตรฐานร้อยละ 71 และ 8 ตามลำดับ

แน่นอนผลเสียที่เราพบแน่ ๆ ว่าเกิดจากการใช้สารเคมี คือ ทำให้ภูมิต้านทานในร่างกายลดลง อันเป็นสาเหตุก่อนให้เกิดโรคมะเร็ง จากข้อมูลการเสียชีวิตของคนในประเทศไทยในปี 2540 พบว่ามีคนไทยเสียชีวิตด้วยสาเหตุต่าง ๆ เรียงตามลำดับได้ดังนี้

  • อันดับ 1 อุบัติเหตุ 18 เปอร์เซ็นต์
  • อันดับ 2 โรคหัวใจ 14 เปอร์เซ็นต์
  • อันดับ 3 มะเร็ง 9 เปอร์เซ็นต์
  • อันดับ 4 โรคตับ 3 เปอร์เซ็นต์

แต่ในช่วงปี พ.ศ. 2549 – 2550 พบว่าคนไทยเสียชีวิตด้วยสาเหตุจากโรคมะเร็งมาเป็นอันดับหนึ่งสองปีติดต่อกันแล้ว ปีละประมาณ 50,000 ราย โดยสาเหตุส่วนหนึ่งเนื่องจากการรับประทานอาหารที่ผิด ๆ และมีสารพิษปนเปื้อน นอกจากสารเคมีหลายชนิดเป็นสารก่อมะเร็งแล้ว ยังมีพิษต่อระบบประสาทและการทำงานของกล้ามเนื้อ และอาจทำให้ผู้ชายมีอสุจิอ่อนแอทำให้มีบุตรยาก

  • ปี พ.ศ. 2533 ในประเทศมาเลเซีย จากการสำรวจพบว่ามีผู้เสืยชีวิตจากการใช้ยาฆ่าหญ้า คือ พาราควอท ชนิดเดียวถึง 1,200 ราย ทำให้ปัจจุบันประเทศมาเลเซียได้ห้ามจำหน่ายสารเคมีชนิดนี้ไปแล้ว

นอกจากผลเสียต่อสุขภาพและชีวิตแล้ว การใช้สารเคมีนาน ๆ ยังทำให้แมลงมีความต้านทานต่อยาปราบศัตรูพืชอีกด้วย โดยเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2539 ประเทศอังกฤษ ได้รายงานว่า พบแมลงมากกว่า 500 ชนิด ต้านทานยาฆ่าแมลงที่ฉีด ทำให้ต้องใช้ยาฆ่าแมลงในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น

ผลเสียอีกประการที่ตามมา คือ ทำให้พันธุ์พืชดั้งเดิมสูญหาย โดยในประเทศสหรัฐอเมริกามีรางานว่าจากเดิมมีพันธุ์พืชดั้งเดิมอยู่ประมาณ 80,000 ชนิด ปัจจุบันพบเหลืออยู่เพียง 150 ชนิด อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการทำเกษตรแบบสมัยใหม่ ในประเทศเยอรมณี ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมาไม่พบสาหร่ายน้ำในแม่น้ำเกิดขึ้นเลย ในประเทศแคนาดาพื้นที่ 6 ไร่ 1 งาน จะพบว่ามีต้นไม้ขึ้นอยู่เพียง 1-5 ชนิดเท่านั้น

ประเทศออสเตรเลียในปี พ.ศ. 2538 พบโลหะหนักปนเปื้อนในผักและผลไม้ที่ปลูกในนครซิดนีย์สูงกว่าปริมาณที่ยอมรับได้ 11 เท่า

นอกเหนือจากนั้นยังมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คือ สารเคมีบางชนิดอาจจะตกค้างอยู่ในระบบนิเวศนาน บางชนิดอยู่นานถึง 30 ปี เช่น ดีดีที เป็นต้น

ทำไมถึงห้ามใช้พันธ์พืชหรือสัตว์ที่เกิดจากการตัดต่อทางพันธุกรรม

เพราะเราไม่แน่ใจว่าพันธุ์พืชหรือสัตว์ที่เกิดจากการดัดแปรงทางพันธุกรรม จะมีความปลอดภัยหรือไม่ อย่างบุหรี่กว่าจะรู้ว่ามันมีอันตรายต่อมนุษย์ คือ เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งต้องใช้เวลาในการศึกษาถึงร้อยปี จึงทราบว่าบุหรี่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง

ทำไมถึงห้ามใช้ปุ๋ยเคมี

หลายคนเชื่อว่าปุ๋ยเคมีไม่น่าจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค แต่ปุ๋ยเคมีโดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจนอาจส่งผลต่อสุขภาพได้ ถ้าใช้ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป ไนเตรทอาจตกค้างในพืชผักหรือปนเปื้อนในแหล่งน้ำใต้ดิน ถ้าเราบริโภคในเตรทเข้าไปสารดังกล่าวจะแปรรูปเป็นไนไตรท์ โดยทั้งไนเตรทและไนไตรท์ เป็นสารก่อมะเร็งในกระเพาะอาหาร ตับ ไต และกระเพาะปัสสาวะ ดังนั้นในต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว จึงได้มีการกำหนดปริมาณสารไนเตรทตกค้างในผักและน้ำดื่มได้ด้วย

จำเป็นหรือไม่ที่ต้องพ่นยาฆ่าแมลงทุกครั้งที่พบ

คำตอบคือไม่จำเป็นเลย ยกตัวอย่างในการทำนา จากการสำรวจในแปลงนาข้าวของเกษตรกรจะพบว่ามีตัวห้ำและตัวเบียนอยู่ในเปลงนาทั่ว ๆ  ไป ประมาณ 2,173 ชนิด โดยเป็นตัวห้ำ 820 ชนิด ตัวเบียน 419 ชนิด แมงมุม 293 ขนิด ในขณะที่ศัครูพืชที่พบในแปลงนาจะมีเพียง แมลง 26 ชนิด โรค 22 ชนิด ไส้เดือนฝอย และวัชพืช 18 ชนิด สัตว์ศัตรูพืข 3 ชนิด ดังนั้นการที่เราฉีดพ่นยาเคมีเพื่อฆ่าแมลงทุกครั้งที่พบก็จะเป็นการฆ่ามิตรแท้ที่มีประโชน์ต่อเราไปด้วย ทำให้เกิดแมลงศัตรูพืชระบาดเพราะขาดตัวที่ควบคุมตามรรมชาติ

Gawao
Gawaohttp://konderntang.com
มีความชอบและหลงไหลในเทคโนโลยีทางด้านไอที การลงทุน และเงินคริปโต .. นอกจากนี้แล้วมักใช้เวลาว่างไปกับการท่องเที่ยว ถ่ายรูป ไปค่ายอาสา ..

Read more

Local News