ลักษณะทั่วไป
บร๊อคโคลี่ มีใบกว้างสีเข้มออกเทา ริมขอบใบเป็นหยัก ทรงพุ่มใหญ่เก้งก้าง ลำต้นใหญ่และอวบ ดอกอยู่รวมกันเป็นกลุ่มช่อหนาแน่นดูเป็นฝอยๆ สีเขียวเข้ม ดอกมีขนาดใหญ่ ความเป็นกรด-ด่าของดินประมาณ 6.0-6.5 ต้องการความชื้นในดินสูง ช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสม 18-27 องศา มีอากาศค่อนข้างเย็น ช่วงปลูกที่เหมาะสม คือ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม

ชื่อสามัญ Broccoli, Cauliflower
ชื่อวิทยาศาสตร์ Brassica olaracea
วงศ์ Cruciferae
พันธุ์
- เดชิโก (De Cicco) มีอายุประมาณ 65 วัน
- ชากาต้ (Sagat) หรือ กรีนตุกร์ (Green Duke) มีอายุประมาณ 60 วัน
- กรีนโดมท (Green Come) มีอายุประมาณ 40 วัน ให้ผลผลิตสูงตรงตามความต้องการของตลาด
การเตรียมดินสำหรับปลูกบล๊อคโคลี่
แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ แปลงเพาะกล้ากับแปลงปลูกพืช
- แปลงเพาะกล้า ขุดพลิกดินลึกประมาณ 15 เชนติเมตร ตากดินไว้ 5-7 วัน ทำการย่อยดินผสมปุยอินทรีย์, ปุ๋ยคอก ผสมกากถั่ว การปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ ควรเตรียมแปลงเพาะกล้าขนาด 5-10 ตารางเมตร
- แปลงปลูกพืช แปลงปลูกพืช ขุดพลิกดินลึกประมาณ 15-20 เขนติเมตร ตากดินไว้ 7-10 วัน และย่อยพรวนดินใส่ปุ๋ยขี้เป็ดหรือปุยคอกในอัตรา 300 กก.ไร่ คลุกเคล้าให้เข้ากันใส่ปูนขาว แล้วปรับสภาพดินที่มีความเป็นกรด-ด่าง 6-6.8 ให้มีอัตราเหมาะสมกับสภาพดิน ประมาณ 380-1,000 กก./ไร่
วิธีการปลูก

การเพาะกล้าเพื่อใช้ปลูกในเนื้อที่ 1 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ 100-150 กรัม หว่านลงในแปลงขนาด 5-10 ตารางเมตร หลังจากต้นกล้ามีอายุ 25-30 วัน แล้วจึงทำการถอนกล้าไปปลูก วิธีการย้ายกล้าไปปลูกทำเหมือนการย้ายกล้าปลูกผักอื่น ๆ คือ ทำการถอนกล้าในตอนเช้า รดน้ำก่อนถอนกล้า เวลาถอนต้องระวังอย่าให้ลำต้นชอกช้ำ วิธีถอนโดยใช้มือดึงตรงส่วนใบขึ้นมาตรง ๆ จะดีกว่าการจับที่ลำต้นแล้วดึงจะทำให้ต้นช้ำได้ เมื่อถอนแล้วใส่เข่งเอาผ้าชุบน้ำคลุม พอช่วงเย็นแดดอ่อน ๆ นำปลูกในแปลงปลูก ระยะปลูกระหว่างต้น ห่างกันประมาณ 30-60 ซม. ระยะระหว่างแถวห่างประมาณ 50-100 ซม. หลังจากปลูกแล้ว คลุมดินด้วยฟางแห้งบาง ๆ เพื่อช่วยให้ต้นกล้าตั้งตัวได้เร็วและยังช่วยรักษาความชื้นของดิน
การปฏิบัติดูแลรักษา
- การให้น้ำ ในช่วงแรก ๆ ของการปลูกพืช ไม่ควรให้น้ำมากนัก แต่ต้องการน้ำสม่ำเสมอในปริมาณพอดี อย่าให้แฉะเกินไป ให้น้ำวันละ 2 เวลา เช้าเย็น ฉีดน้ำพ่นฝอย หรือใช้บัวรดฝอยทั่วแปลง
- ระยะที่ 2 เมื่อต้นพืชเติบโตขึ้นจนถึงระยะเกิดดอก ผักต้องการน้ำมาก ตอนช่วงพัฒนาการออกดอก น้ำเป็นสิ่งจำเป็นมาก การให้น้ำระยะหลังนี้ให้วันละ 2-3 เวลาในปริมาณมากกว่าช่วงแรก
การใส่ปุ๋ย
ปุ๋ยที่เหมาะสมของบร๊อคโคลี่ คือสูตร 10-10-20 หรือสูตร 13-13-21 การใส่แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งละประมาณ 25-27 กิโลกรัมต่อไร โดยใส่ครั้งแรกเป็นปุ๋ยรองพื้นก่อน ครั้งที่สองใส่หลังจากปลูกประมาณ 20 วัน โดยโรยทั้งแถวและพรวนดินกลบ สำหรับปุ๋ยเสริมอาจใช้ยูเรียหรือแอมโมเนียมไนเตรท เมื่อเห็นว่าพืชเจริญเติบโตช้า 20 กก./ไร่ โดยแบ่งให้ 2 ครั้ง ครั้งแรกอายุประมาณ 7 วัน ครั้งที่ 2 ให้เมื่ออายุ 30 วัน
การเก็บเกี่ยว
อายุตั้งแต่ย้ายปลูกจนถึงตัดขายได้ ส่วนใหญ่ประมาณ 70-90 วัน โดยตัดดอกที่มีกลุ่มดอกเกาะตัวกันแน่นโตขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10-16 ซม. ต้องรีบตัดดอกก่อนที่ดอก จะบานกลายเป็นสีเหลือง แล้วนำมาตัดแต่งทั้งต้นและดอกยาวประมาณ 16-20 ซม. ตัดใบออกให้เหลือติดดอก 2 ใบ เพื่อไว้พันรอบดอกช่วยป้องกันความเสียหาย ขณะขนส่ง
การใช้ประโยชน์

นำส่วนของดอกบล๊อคโคลี่ ปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น นึ่ง, ต้ม, ผัดน้ำมันหอย
โรคและแมลงศัตรูพืช
โรคเน่าเละ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าทางบาดแผลที่เกิดจากหนอนกัดหรือเชื้อราเข้าทำลาย โรคเน่าเละมักพบเกิดร่วมกับโรคไส้ดำที่เกิดจากการขาดธาตุโบรอน เมื่อพบต้นที่เป็นโรคระบาด ควรรีบถอนไปทำลายเสีย หากพบโรคระบาดมาก ไม่ควรปลูกพืชตระกูลนี้ช้ำที่เดิมอีก ควรปลูกพืชตระกูลอื่นหมุนเวียนบ้าง
การป้องกัน : ให้ใช้เทอราคลอหรือไซเนบ อัตรา 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปี๊บรดหรือราดในแปลง 1 ครั้ง หลังจากเก็บต้นที่เป็นโรคทิ้งแล้ว
โรคใบจุด
ควรมีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศที่ดี เมื่อเริ่มมีโรคเกิดขึ้น ให้รีบกำจัดออกแล้วใช้สารเคมี แคปแทน, ดาโคนิล, โลนาโคล, และแอนทราโคล อย่างใดอย่างหนึ่ง ควรมีการปลูกพืชหมุนเวียน ไม่ปลูกพืชชนิดเดียวกันช้ำที่เดิมติดต่อกันนานหลายปี เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อสาเหตุโรคพืช หากมีการระบาดรุนแรงให้ใช้สารเคมีดูดซึม เช่น บาวิสติน เดอโรชาล ชาพรอล
หนอนใยผัก
นิสัยชอบกัดกินใบพืช ตัวเต็มวัยวางไข่เป็นกลุ่มใต้ใบจะใช้เวลาประมาณ 3-4 วัน จากนั้นจะกัดกินใบอ่อน โดยใช้เวลา 14 วัน ถึงจะเข้าดักแด้ 3-5 วัน แล้วเป็นตัวเต็มวัยใหม่
การป้องกัน : ใช้สารเคมีพวกโมโนโครโตฟอส ฉีดพ่น 5-7 วัน ต่อครั้งในระยะต้นกล้า ช่วงก่อนเก็บเกี่ยวไม่ควรใช้ยาฆ่าแมลง ควรงดการใช้ยา
หนอนเจาะกะหล่ำ
จะสังเกตุเห็นหนอนกัดกินใบแล้วหนอนระบาดไปกินดอกอ่อน ป้องกันได้โดยกรฉีดฟอสดริน ตามอัตราที่กำหนด