ลักษณะพิเศษของ หญ้าแฝก
การที่หญ้าแฝกถูกนำมาใช้ปลูกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ เนื่องมาจากมีลักษณะเด่นหลายประการ ดังนี้
- มีการแตกหน่อรวมเป็นกอ เบียดกันแน่น ไม่แผ่ขยายด้านข้าง
- มีการแตกหน่อและใบใหม่ ไม่ต้องดูแลมาก
- หญ้าแฝกมีข้อที่ลำตันถี่ ยายพันธุ์โดยใช้หน่อได้ตลอดปื
- ส่วนใหญ่ไม่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดทำให้ควบคุมการแพร่ขยายได้
- มีใบยาว ตัดและแตกใหม่ง่ายแข็งแรงและทนต่อการย่อยสลาย
- ระบบรากยาว สานกันแน่นและช่วยอุ้มน้ำ
- บริเวณรากเป็นที่อาศัยของจุลินทรีย์
- ปรับตัวกับสภาพต่าง ๆ ได้ดี ทนทานต่อโรคพืชทั่วไป
- ส่วนที่เจริญต่ำกว่าผิวดิน ช่วยให้อยู่รอดได้ดีในสภาพต่าง ๆ
พันธ์ หญ้าแฝก
หญ้าแฝก เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตระกูลเดียวกับข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไปหลายพื้นที่ตามธรรมชาติ จากการสำรวจพบว่ามีกระจายอยู่ทั่วโลกประมาณ 12 ชนิด และสำรวจพบในประเทศไทย 2 ชนิด ซึ่งกรมพัฒนาที่ดินได้คัดเลือกเป็น พันธุ์ใช้รณรงค์รวม 10 พันธุ์ ได้แก่
- พันธุ์หญ้าแฝกกลุ่ม ได้แก่ พันธุ์สุราษฎร์ธานี กำแพงเพชร 2 ศรีลังกา และสงขลา 3
- พันธุ์หญ้าแฝกดอน ได้แก่ พันธุ์ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยเอ็ด กำแพงเพชร 1 นครสวรรค์ และเลย
หญ้าแฝกเป็นหญ้าที่ขึ้นเป็นกอ หน่อเบียดกันแน่น ใบของหญ้าแฝกมีลักษณะแคบยาว ขอบขนานปลายสอบแหลม ด้านท้องใบจะมีสีจางกว่าด้านหลังใบ มีรากเป็นระบบรากฝอยที่สานกันแน่นยาวหยั่งลึกในดิน มีช่อดอกตั้ง ประกอบด้วยดอกขนาดเล็ก ดอกจำนวนครึ่งหนึ่งเป็นหมัน
การขยายพันธุ์ หญ้าแฝก
การขยายแม่พันธุ์ คือ การนำแม่พันธุ์หญ้าแฝกที่มีลักษณะดีมาทำการยายเพิ่มปริมาณทั้งการปลูกลงดิน หรือปลูกลงถุงพลาสติกขนาดใหญ่ ส่วนการขยายพันธุ์กล้าหญ้าแฝก คือการนำหน่อที่ได้จากการขยายแม่พันธุ์มาเพาะชำ เพื่อนำไปปลูกในพื้นที่ ได้แก่ กล้าในถุงพลาสติกขนาดเล็ก และกล้หญ้าแฝกแบบรากเปลือย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
- การขยายแม่พันธุ์หญ้าแฝก
- การขยายพันธุ์ในแปลงขนาดใหญ่ การขยายพ้นธุ์หญ้าแฝกในแปลงขนาดใหญ่ เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีการชลประทานและระบายน้ำดี สามารถปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ โดยไม่ต้องยกร่องก็ได้ การเตรียมต้นพันธุ์โดยแยกหน่อจากกอนำมาตัดใบให้เหลือความยาว 20 เชนติเมตร และตัดรากให้สั้นแช่ในระดับน้ำสูง 5 เชนติเมตร เป็นระยะเวลา 5 – 7 วัน รากจะแตกออกมาใหม่ นำไปปลูกโดยใช้ระยะปลูกห่างต้น 5 เซนติเมตร และระหว่างแถว 50 เชนติเมตร หลังจากปลูกต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอเมื่ออายุได้ 1 เดือน ใส่ปุยสูตร 15 – 15 – 15 ต้นละ 1 ช้อนชา เมื่อถึงอายุ 4- 6 เดือน ให้ขุดนำไปเพาะชำในถุงพลาสติก หรือเตรียมเป็นกล้ารากเปลือย สำหรับใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
- การขยายพันธุ์ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ การขยายพันธุ์โดยการปลูกในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ โดยวางเป็นแถวคู่ติดกันระยะห่างระหว่างแถวคู่ 1 เมตร ยาวตามพื้นที่ไช้วัสดุปลูกที่มีการะบายน้ำดี เช่น ดินร่วนทรายและขี้เถ้าแกลบ หรือ ขุยมะพร้าว ในสัดส่วน 1 : 2 : 1 การติดตั้งระบบน้ำพ่นฝอย หรือมีตาข่ายพรางแสง นำหน่อมาปักชำ ดูแลจนกระทั่งอายุ 4 เดือน จึงนำไปแยกหน่อเพาะชำต่อไป
- การขยายกล้าหญ้าแฝกสำหรับใช้ปลูก
- การเตรียมกล้าหญ้าแฝกในถุง โดยตัดรากให้สั้นและแยกหน่อจากกอ ตัดใบให้ยาว 10 เซนติเมตร นำมาล้างน้ำมัดรวมกัน วางลงบนขุยมะพร้าวที่ชื้น หรือแช่ในระดับน้ำสูง 5 เซนติเมตร ในที่ร่มเงา 4 วัน แล้วจึงคัดหน่อที่ออกรากมาปักชำในถุงพลาสติกขนาดเล็ก (2×6 นิ้ว) และใส่วัสดุเพาะชำที่ระบายน้ำดี มีธาตุอาหารสมบูรณ์ ดูแลรดน้ำในสภาพเรือนเพาะชำ เมื่ออายุ 45-60 วัน ให้นำไปปลูกในพื้นที่ขณะที่ดินมีความชื้น
- การเตรียมกล้าหญ้าแฝกแบบรากเปลือย โดยการแยกจากหน่อจากกอ ตัดใบให้ยาว 20 เซนติเมตร ตัดรากให้สั้น วางบนขุยมะพร้าวที่ชื้นหรือแช่ในน้ำให้ท่วมราก จนกระทั่งรากงอกขึ้นมายาว 1-2 เซนติเมตร นานประมาณ 5-7 วัน จึงนำไปปลูกในช่วงต้นฤดูฝน และหลังจากปลูกดินควรมีความชื้นติดต่อกันอย่างน้อย 15 วัน
การเตรียมดินเพื่อปลูก หญ้าแฝก
- การเตรียมพื้นที่และกำจัดวัชพืช
- การปลูกหญ้าแฝกในช่วงต้นฤดูฝน พื้นที่ปลูกต้องมีความซุ่มชื้น
- การเตรียมแนวร่องปลูก โดยการวางแนวร่องปลูกขวางความลาดชันตามแนว ระดับขนานไปตามสภาพพื้นที่
- การใส่ปุ๋ยหมักรองกันหลุมในแนวร่องปลูก เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ดิน
- การปลูกกล้าหญ้าแฝกในแปลงปลูก โดยการใช้กล้าเพาะชำถุงขนาดเล็ก ใช้ระยะปลูก 10 เชนติเมตร หรือกล้ารากเปลือยใช้ระยะปลูก 5 เซนติเมตร
- ความห่างของแถวหญ้าแฝกแต่ละแถวขึ้นกับความลาดเทของพื้นที่และชนิดของพืชที่ปลูก โดยทั่วไปจะใช้ระยะห่างทางแนวดิ่ง 1.5 – 2.0 เมตร
- กลบดินในร่องปลูกให้ต่ำกว่าระดับ ผิวดินปกติ เพื่อให้น้ำขังและซึมลงดินได้ ช่วยให้ดินซุ่มชื้นขึ้น
- ควรปลูกซ่อมแชมให้ได้แนวรั้วหญ้าแฝกที่เป็นแนวยาวต่อเนื่อง
การดูแลรักษา หญ้าแฝก
- การตัดเลือกกล้าที่มีคุณภาพ กล้าหญ้าแฝกที่มีคุณภาพโดยทั่วไปเป็นกล้าที่มีอายุ 45 ถึง 60 วัน เมื่อนำกล้าที่แข็งแรงมาปลูกก็จะได้แนวรั้วหญ้าแฝกที่มีการเจริญเติบโตแข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ
- การเลือกช่วงเวลาปลูก การปลูกหญ้าแฝกในช่วงต้นฤดูฝนจะเหมาะสมที่สุด สภาพดินที่ปลูกในช่วงต้นฤดูฝนจะมีความชุ่มขึ้นสูงติดต่อกันมากกว่า 15 วันขึ้นไป
- การตัดใบ ในช่วงต้นฤดูฝน ให้ตัดใบหญ้าแฝกให้สั้นสูงจากพื้นผิว 5 เซนติเมตร เพื่อให้เกิดการแตกหน่อใหม่ และกำจัดหน่อแก่ที่แห้งตาย ในช่วงกลางฤดูฝนให้เกี่ยวใบสูงไม่ต่ำกว่า 45 เซนติเมตร เพื่อให้มีแนวกอที่หนาแน่น ในการรับแรงปะทะของน้ำไหลบ่า และในช่วงปลายฤดูฝน เกี่ยวใบให้สั้น 5 เชนติเมตร อีกครั้ง เพื่อให้หญ้าแฝกแตกใบเขียวในฤดูแล้ง
- การดูแลรักษาตามความเหมาะสม ในต้นฤดูฝนให้ใส่ปุ๋ยหมักตามแถวหญ้าแฝก ก็จะเป็นการช่วยให้หญ้าแฝกมีการเจริญเติบโตดีขึ้นและกำจัดวัชพืชข้างแนว จะเป็นการช่วยให้สังเกตุแนวหญ้าแฝกได้ชัดเจน ช่วยให้หญ้าแฝกเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ และเพื่อป้องกันการไถแนวทิ้งเนื่องจากสังเกตไม่เห็น
- การปลูกซ่อมและแยกหน่อ การปลูกซ่อมแชมในช่วงฤดูฝน จะทำไห้ได้แนวรั้วหญ้าแฝกที่แข็งแรง และควรตัดแยกหน่อแก่ที่ออกดอกหรือแห้งออกไป เพื่อจะให้หน่อใหม่ได้แทรกขึ้นมาได้อย่างเต็มที่
การปลูก หญ้าแฝก ในพื้นที่เกษตรกรรม
สำหรับการปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่เกษตรกรรมมีจุดประสงค์ที่สำคัญเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ การฟื้นฟูทรัพยากรดิน ซึ่งประกอบด้วย
- การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ลาดชัน ควรปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวตามแนวระดับขวางความลาดเทในต้นฤดูฝน โดยการทำแนวร่องปลูกตามแนวระดับ ใช้ระยะระหว่างต้น 5 เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือย และระยะ 10 เซนติมตร สำหรับกล้าถุง ระยะห่างแถวตามแนวดิ่ง ไม่เกิน 2 เมตร หญ้าแฝกจะเจริญเติบโตแตกกอชิดกัน ภายใน 4 – 6 เดือน
- การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ดอน การปลูกหญ้าแฝกตามแนวระดับในพื้นที่ดอนที่ปลูกพืชไร่ โดยการขุดร่อง ปลูกตามแนวระดับ ระยะห่างระหว่างต้น 5 เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือยและ 10 เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง ควรใช้ปุ๋ยหมักรองพื้นก่อนปลูกหญ้าแฝกหรือปลูกหญ้าแฝกเป็นแนวระหว่างแถวปลูกพืชไร่และควรปลูกในสภาพดินที่มีความชุ่มชื้นในช่วงต้นฤดูฝน
- การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ราบหรือที่ลุ่ม ในสภาพพื้นที่ราบหรือพื้นที่ลุ่มที่มีการปรับสภาพเป็นแปลงยกร่องเพื่อปลูกพืชนั้น สามารถปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวรอบขอบเขตพื้นที่หรือปลูกที่ขอบแปลงยกร่อง หญ้าแฝกจะช่วยยึดดินไม่ให้พังพลาย และรักษาความชื้นในดินเอาไว้
การปลูก หญ้าแฝก ในพื้นที่เฉพาะ
สำหรับการปลูกในพื้นที่ที่มีสภาพเป็นร่องน้ำ พื้นที่ปลูกไม้ผลและสระเก็บน้ำ มีจุดประสงค์เพื่อการกระจายน้ำ การรักษาความชื้นและการกรองตะกอนดินซึ่งประกอบด้วย
- การปลูกเพื่อควบคุมร่องน้ำ นำกล้าหญ้าแฝกในถุงพลาสติกที่มีการแตกกอและแข็งแรงดีแล้วไปปลูกในร่องน้ำ โดยขุดหลุมปลูกขวางร่องน้ำเป็นแนวตรง หรือแนวหัวลูกศรชี้ย้อนไปทิศทางน้ำไหล อาจใช้กระสอบทรายหรือก้อนหินช่วยทำคันเสริมฐานให้มั่นคงตามแนวปลูกหญ้าแฝก ระยะห่างระหว่างต้น 5 เซนติเมตร สำหรับรากเปลือย และ 10 เชนติเมตร สำหรับกล้าถุง และระหว่างแนวปลูกหญ้าแฝกไม่เกิน 2 เมตร ตามแนวตั้งหลังจากเกิดคันดินกั้นน้ำ ควรปลูกหญ้าแฝกต่อจากแนวคันดินกั้นน้ำออกไปทั้งสองข้าง เพื่อเป็นการกระจายน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูก
- การปลูกเพื่อรักษาความชื้น ควรปลูกหญ้าแฝกในสวนผลไม้ระยะที่ไม้ผลยังไม่โต หรือปลูกก่อนที่จะลงไม้ผล โดยปลูกแถวหญ้าแฝกขนานไปกับแถวของไม้ผลที่ระยะกึ่งกลางของแถวไม้ผล หรือปลูกเป็นรูปครึ่งวงกลมให้ห่างจากโคนต้นไม้ผล 5 เมตร เพื่อไม้ผลเจริญเติบโตขึ้นมาคลุมพื้นที่หญ้าแฝกจะตายไปกลายเป็นอินทรีย์วัตถุในดินต่อไป
- การปลูกรอบขอบสระเพื่อกรองตะกอนดิน ควรปลูกตามแนวที่ระดับน้ำสูงสุดท่วมถึง 1 แนว และปลูกเพิ่มขึ้นอีก 1-2 แนวเหนือแนวแรก ซึ่งขึ้นอยู่กับความลึกของขอบสระ ระยะห่างระหว่างต้น 5 เซนติเมตรสำหรับกล้ารากเปลือย และ 10 เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง โดยขุดหลุมปลูกต่อเนื่องกันไป
ในระยะแรกควรดูแลปลูกซ่อมแซมให้แถวหญ้าแฝกเจริญเติบโตหนาแน่น เมื่อน้ำไหลบ่ามาลงสระ ตะกอนดินที่ถูกพัดพามากับน้ำจะติดค้างอยู่กับแถวหญ้าแฝก ส่วนน้ำจะค่อย ๆ ไหลผ่านลงสู่สระและระบบรากของหญ้าแฝกยังช่วยยึดติดดินรอบ ๆ ขอบสระไม่ให้เกิดการพังทลาย
รูปแบบการปลูกหญ้าแฝก
เพื่อให้การคำเนินการปลูกหญ้าแฝกมีรูปแบบที่ชัดเจน จึงได้มีการกำหนดรูปแบบการปลูกที่สามารถนำไปปฏิบัติในพื้นที่ได้ และเป็นไปตามหลักวิชาการ ซึ่งประกอบด้วย
- การปลูกในระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ การปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวเดี่ยวขวางความลาดชันของพื้นที่ ถ้าใช้กล้าแบบ รากเปลือยจะปลูกระยะระหว่างต้น 5 เชนติเมตร ถ้าเป็นกล้าถุงพลาสติก ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 10 เชนติเมตร โดยปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวตามแนวระดับให้มีระยะห่างระหว่างแถวตามแนวดิ่งไม่เกิน 2 เมตร ความยาวของแถวหญ้าแฝกขึ้นกับสภาพพื้นที่ และพื้นที่ว่างระหว่างแถวหญ้าแฝกจะเป็นพื้นที่ปลูกพืชหลัก
- สระน้ำปลูก 2 แถว
- แถวที่ 1 ปลูกห่างขอบบ่อ 50 เซนติเมตรจนรอบบ่อ
- แถวที่ 2 ปลูกที่ระดับทางน้ำเข้า จนรอบบ่อ
- อ่างเก็บน้ำปลูก 3 แถว
- แถวที่ 1 ปลูกที่ระดับทางน้ำล้นจนรอบอ่าง ยกเว้นบริเวณคันหรือสันอ่างเก็บน้ำ
- แถวที่ 2 ปลูกที่ระดับสูงกว่า แถวที่ 1 ตามแนวดิ่ง 20 เซนติเมตรจนรอบอ่าง ยกเว้นบริเวณคันหรือสันอ่างเก็บน้ำ
- แถวที่ 3 ปลูกที่ระดับต่ำกว่า แถวที่ 1 ตามแนวดิ่ง 20 เซนติเมตร จนรอบอ่าง ยกเว้นบริเวณคันหรือสันอ่างเก็บน้ำ
- ปลูกริมคลองส่งน้ำ 1 แถว ห่างขอบคลองส่ง 30 เซนติเมตร
- ปลูกบนร่องสวน 1 แถว ห่างขอบแปลง 30 เซนติเมตร
- ปลูกอยู่บนไหล่ถนน 1 แถว สำหรับถนนหรือทางลำเลียง
- ปลูกครึ่งวงกลมรอบต้นไม้
- ต้นไม้ขนาดเล็ก รัศมีขนาด 1 เมตร เป็นระยะทาง 3 เมตร
- ต้นไม้ขนาดกลาง รัศมีขนาด 2 เมตร เป็นระยะทาง 6 เมตร
- ต้นไม้ขนาดใหญ่ รัศมีขนาด 3 เมตร เป็นระยะทาง 9 เมตร
- ปลูกวงกลมรอบต้นไม้
- ต้นไม้ขนาดเล็ก รัศมีขนาด 1 เมตร เป็นระยะทาง 6 เมตร
- ต้นไม้ขนาดกลาง รัศมีขนาด 2 เมตร เป็นระยะทาง 12 เมตร
- ต้นไม้ขนาดใหญ่ รัศมีขนาด 3 เมตร เป็นระยะทาง 18 เมตร
การปลูกหญ้าแฝกทุกครั้งจะต้องปลูกให้ตhนชิดติดกันเป็นแถว ไม่ว่าจะเป็นกรณีแถวตรงหรือแถวโค้งรอบต้นไม้ก็ตาม ถ้าใช้กล้าถุงมีระยะปลูกระหว่างต้น 10 เซนติเมตร และกล้ารากเปลือยระยะปลูก 5 เชนติเมตร
การนับจำนวนจุดและจำนวนกล้าหญ้าแฝกต่อจุดที่ปลูกหญ้าแฝก
- การปลูกในพื้นที่ลาดเท ริมถนน คลอง สระน้ำ ระยะทางปลูกที่ต้องใช้กล้าหญ้าแฝก จำนวน 300 กล้าให้นับเป็น 1 จุด ดังนี้
- กล้าถุง ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 10 เซนติเมตร ระยะทาง 1 เมตรใช้ 10 ถุง รวมจำนวนกล้าต่อจุด (30 เมตร) เท่ากับจำนวน 300 กล้า
- กล้ารากเปลือย ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 5 เซนติเมตร ระยะทาง 1 เมตร ใช้ 20 กล้า รวมจำนวนกล้าต่อจุด (15 เมตร) เท่ากับจำนวน 300 กล้า
- การปลูกรอบต้นไม้ 1 ต้น ในรูปแบบการปลูกครึ่งวงกลม หรือ ล้อมรอบนับเป็น 1 จุด จำนวนกล้าที่ใช้ขึ้นอยู่กับขนาดต้นไม้