ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ชี้ให้เห็นถึงแนวทางการดําเนินชีวิตและ ปฏิบัติตัวของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหาร ประเทศให้ดําเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ทันต่อยุคโลกาภิวัฒน์
ความพอเพียงตามแนวปรัชญาจึงเป็นจุดสําคัญที่ทําให้คนในสังคมได้ปรับเปลี่ยนวิถีการดําเนินชีวิตไปในทิศทางที่ดีขึ้น
และในขณะเดียวกันก็จะต้องสร้างพื้นฐานจิตใจให้มีสํานึกในความซื่อสัตย์สุจริต รวมถึงความรอบรู้ที่จะดําเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านวัตถุสังคม และสิ่งแวดล้อมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
การนําเอาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับ การทําการเกษตรแบบยั่งยืนนั้น ก็ช่วยให้เกษตรกรมีวิธีการทําการเกษตรที่ช่วยฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติได้อีกทางหนึ่ง เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์สามารถช่วยผลิต อาหารที่มีคุณภาพและพอเพียงต่อความต้องการพื้นฐาน ของผู้บริโภคได้ รวมทั้งเอื้ออํานวยให้เกษตรกร และชุมชนเกิดการพัฒนาได้อย่างอิสระ
เกษตรยั่งยืนจึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะสามารถช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้จริง การไม่ใช้สารเคมีในการผลิตทําให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ผลิต ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม เราจะเห็นได้ว่าในสังคมยุคที่ประชาชนให้ความสนใจในเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมีมากขึ้นกว่าในอดีต การนําเอาหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ใน การทําการเกษตรแบบยั่งยืนนั้นก็จะช่วยยกระดับมาตรฐานการครองชีพและคุณภาพของชีวิตเกษตรกร ให้ดีขึ้นได้ อีกทั้งเราควรจะปลูกฝังให้กับรุ่นลูกรุ่นหลานอย่างต่อเนื่องด้วย จึงจะเรียกได้ว่ามีความ “ยั่งยืน” ในการทําการเกษตรได้อย่างแท้จริง
ในการทําการเกษตรแบบยั่งยืนนั้น แม้ว่าจะเน้นไป ในทางด้านการพึ่งพิงธรรมชาติเป็นส่วนสําคัญ แต่ก็ไม่ได้ หมายความว่าจะไม่รักษาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการให้เกษตรกรใช้โคกระบือแทนเครื่องจักรนั้นก็เป็นการช่วยลดการใช้พลังงาน อีกทั้งยังมีการจัดให้มีการปลูกพืชหมุนเวียน โดยเน้นให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยที่ทําจากธรรมชาติ เช่น ปุ๋ยหมักและปุ๋ย ชีวภาพ เพื่อเป็นการช่วยลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพของดินในระยะยาว ส่วนการปลูกพืช หมุนเวียนนั้นก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินได้ เนื่องจากพืชต่างชนิดกัน เมื่อนํามาปลูกบนพื้นที่เดียวกัน ก็จะทําให้ได้รับธาตุอาหารในดินที่ตางกัน นอกจากนี้การปลูกพืชตระกูลถั่วยัง ช่วยบํารุงดินและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน อีกทั้งการปลูกพืชหมุนเวียนก็ยังเป็นการควบคุม การระบาดของโรคและแมลงรบกวนต่าง ๆ ได้ เนื่องจากปริมาณของศัตรูพืชที่เกิดขึ้นในแต่ละฤดูจะมีไม่มาก จึงไม่ยากนักต่อการควบคุมการระบาด ทําให้การเจริญเติบโต ของพืชดีขึ้น
ส่วนการป้องกันการพังทลายของดิน การปลูกพืชหมุนเวียนติดต่อกันจะทําให้พื้นดินที่ทําการ เพาะปลูกมีพืชปกคลุมผิวหน้าดินตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยลดการ พังทลายของดินอันเนื่องมาจากลมและน้ำได้ รวมทั้งเป็นการ เพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินด้วย อย่างไรก็ตามการทําเกษตรยั่งยืนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการทําการเกษตรที่มีจุดเด่นตายตัว คือเป็นมิตรกับธรรมชาติ เกษตรกรจะเลือกใช้ปัจจัยการผลิตทุกอย่างที่นํามาจากวัสดุในธรรมชาติทั้งสิ้น จึงไม่ทําลายสิ่งแวดล้อมส่งผลให้ระบบนิเวศคืนสู่สภาพปกติเกษตรแบบยั่งยืนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการเกษตรที่ใช้ต้นทุนในการผลิตที่ต่ำได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และมีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น เพราะการทําการเกษตรแบบยั่งยืน มีวิธีการเลือกใช้สารชนิดต่าง ๆ ในช่วงเวลาและปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของพืชและสัตว์ จึงทําให้ผลผลิตที่ได้มีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่นานขึ้น
นอกจากนี้เราสามารถนํา แนวคิดการทําเกษตรยั่งยืนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้เป็นหลักในการดําเนินชีวิต รวมทั้งสามารถ นําไปปฏิบัติและใช้ในชีวิตประจําวันได้จริงอีกด้วย