Sunday, May 19, 2024

Standby ทำงานต้องได้รับค่าจ้างหรือไม่

Share

Standby ในที่นี้เป็นการ Standby ทำงาน หลายคนอาจไม่คุ้นเคยกับคำนี้ หรือบางคนอาจต้องอยู่ในภาวะที่ต้อง Standby ทำงาน แต่ยังมีข้อสงสัยอยู่เกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ควรได้รับ อย่างเช่นค่าจ้างว่าต้องได้รับหรือไม่อย่างไร หรือสามารถปฏิเสธไม่ทำได้หรือไม่ ซึ่งทางบทความในครั้งนี้ก็ได้รวบรวมเอาเรื่องราวเกี่ยวกับ Standby ทำงาน มาอธิบายรายละเอียดแบบครบถ้วน ตอบทุกข้อสงสัยที่หลายๆ คนอยากรู้ที่นี่แล้ว

Standby ทำงานคืออะไร?

Standby ทำงาน คือการทำงานลักษณะหนึ่ง ที่ผู้ทำงานจะต้อง Standby ทำงาน แม้ในตอนนั้นอาจไม่ใช่วันทำงานหรือเป็นวันหยุด หากพนักงานอยู่ในสถานะ Standby ทำงาน หมายความว่าถ้าหากถูกเรียกตัวหรือเรียกใช้งาน พนักงานคนนั้นจะต้องพร้อมและสามารถปฏิบัติงานได้ทันที

ยกตัวอย่างการ Standby ทำงาน อาจเป็นการรอรับสายลูกค้าในวันหยุด หากไม่มีสายเข้าก็ไม่ต้องทำอะไร แต่เมื่อไรที่มีสายเข้าจากลูกค้า ต้องพร้อมรับสายและให้ข้อมูลลูกค้าตลอดระยะเวลาการ Standby ทำงานที่ตกลงกับหัวหน้างานเอาไว้

Standby ทำงาน ปฏิเสธได้ไหม?

หากถูกสั่งให้ Standby ทำงาน สามารถเลือกปฏิเสธได้หรือไม่ เป็นคำถามที่หลายคนคงอยากรู้ ในความเป็นจริงแล้วการ Standby ทำงาน แบ่งเป็น 2 แบบตามเหตุผลที่ต้องการการ Standby

  • แบบแรกคือ “งานฉุกเฉิน“ จึงจำเป็นต้องมีพนักงาน Standby ทำงานเสมอ เพราะถ้าหากไม่มีการ Standby ทำงาน อาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นกับองค์กรได้
  • แบบที่ 2 เป็นการ Standby ทำงานเพื่อ “ผลประโยชน์” ของบริษัท การไม่มีพนักงาน Standby ทำงาน ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ทำให้องค์กรไม่ได้รับผลประโยชน์บางอย่าง

เมื่อย้อนกลับไปที่คำถามว่าการ Standby ทำงาน สามารถปฏิเสธได้ไหม คำตอบคือ หากเป็นแบบแรกที่เรียกว่างานฉุกเฉิน หัวหน้างานสามารถสั่งให้พนักงาน Standby ทำงาน ได้โดยไม่จำเป็นต้องรอให้พนักงานยินยอม กลับกันหากเป็นแบบที่ 2 ซึ่งเป็นการสร้างผลประโยชน์เพิ่มเติมให้บริษัท จะต้องได้รับการยินยอมจากพนักงานก่อนเสมอ ดังนั้นพนักงานมีสิทธิที่จะปฏิเสธและไม่ Standby ทำงานให้ได้

Standby ทำงาน ต้องได้รับค่าจ้างหรือไม่?

มาถึงคำถามที่คนอยากรู้มากที่สุดว่าการ Standby ทำงาน ต้องได้รับค่าจ้างหรือไม่ ให้ลองจินตนาการดูเล่นๆ ว่าการที่พนักงานคนหนึ่งต้อง Standby ทำงาน ทั้งที่ไม่ใช่เวลางาน ทำให้ไม่สามารถไปทำธุระอื่นได้ บางรายไม่สามารถเดินทางออกจากต่างจังหวัดได้ เพราะอาจถูกเรียกตัวเข้าบริษัทเมื่อไรก็ได้

บางรายอาจไม่แม้แต่จะไปซื้อของที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตได้ เพราะต้องพร้อมที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดเวลาการ Standby ทำงาน เนื่องจากอาจถูกเรียกดูข้อมูลจากฐานข้อมูลเมื่อไรก็ได้ ซึ่งนั่นหมายความว่าในช่วงเวลาการ Standby ทำงาน แม้ว่าจะไม่มีสายเข้าหรือไม่มีการถูกเรียกใช้งานเลยก็ตาม แต่พนักงานคนนั้นก็จะต้องเสียโอกาสในการไปทำธุระอย่างอื่นโดยอัตโนมัติ

ธุระนั้นอาจเป็นการพักผ่อน หรืออาจเป็นการสร้างรายได้เสริม ซึ่งแน่นอนมันคือการเสียโอกาสในการทำธุระต่างๆ เหล่านั้น และที่เหมาะสมที่สุดพนักงานคนนั้นก็ “ควรได้รับค่าจ้าง” ตามความเหมาะสม

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากเป็นการ Stand by ทำงานที่บริษัท (ไม่ใช่ที่บ้าน) การได้รับค่าจ้างจะไม่ใช่แค่ควรได้รับ แต่ “ต้องได้รับค่าจ้าง” ซึ่งเป็นไปตามฎหมาย

Standby ทำงาน ควรคิดอัตราจ้างแบบไหน?

หากเป็นการ Standby ทำงาน เพื่อผลประโยชน์ของบริษัท จะต้องได้รับการยินยอมจากพนักงานก่อน และบริษัทคิดอัตราจ้างที่เป็นธรรมกับพนักงาน มีการตกลงกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ให้เข้าใจซึ่งกันและกัน ยอมรับได้ทั้ง 2 ฝ่าย และถ้าหากเป็นการ Standby ทำงาน ที่ทำงาน คือให้พนักงานไปรองานที่บริษัท แบบนั้นบริษัทต้องคิดอัตราจ้างเป็นค่าทำงานล่วงเวลา (OT) ซึ่งในส่วนตรงนี้บางหลายบริษัทก็เลือกที่จะใช้ระบบโปรแกรมการทำงานอย่างเช่นจาก ByteHR ซึ่งเป็นผู้นำด้านระบบเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มความแม่นยำขึ้น

ทั้งนี้หากเรียกพนักงานเข้าไป Standby ทำงาน ที่บริษัท ก็ควรสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพนักงานที่ต้องมาทำงานนอกเหนือเวลางาน ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทาง ค่าอาหาร ฯลฯ ตามความเหมาะสม เรื่องนี้ไม่มีกฎตายตัว แต่ควรทำให้เป็นธรรมที่สุด

Standby ทำงาน หากตกลงแล้วถึงเวลาไม่ทำจะเป็นอย่างไร?

มีบางกรณีที่ทั้งนายจ้างและลูกจ้างตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วถึงเรื่อง Standby ทำงาน แต่ถึงเวลาจริง พนักงานกลับไม่ทำตามข้อตกลง หายไปเฉยๆ ติดต่อไม่ได้ ทำให้เกิดความเสียหายต่อการทำงาน กระทบแผนงานที่วางไว้ ไม่สามารถหาคนอื่นมาแทนในเวลานั้นได้ หรืออะไรก็แล้วแต่ กรณีแบบนี้พนักงานคนนั้นก็ควรได้รับโทษทางวินัย แม้จะเป็นการ Standby ทำงาน เพื่อผลประโยชน์ของบริษัทก็ตาม เนื่องจากได้มีการตกลงกันแล้ว หมายความว่าพนักงานยินยอมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

Standby ทำงาน สิ่งที่นายจ้างต้องคำนึง

การ Standby ทำงานเป็นเรื่องที่นายจ้างควรเจรจากับลูกจ้างให้เกิดความเข้าใจกันทั้ง 2 ฝ่าย สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงคือการบังคับ ควรพูดคุยกันด้วยเหตุผล ที่สำคัญผลตอบแทนควรคุ้มค่า อย่ามองว่าแค่ Standby ทำงาน ที่อาจไม่ได้ทำอะไรเลยด้วยซ้ำ แต่นั่นคือต้นทุนค่าเสียโอกาสได้เกิดขึ้นแล้วกับพนักงานคนนั้น

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นไปตามสถานการณ์ ที่อาจแตกต่างกันออกไป เพราะในลักษณะงานการ Standby ทำงาน บางครั้งก็อาจกระทบเวลาของพนักงานน้อยมากจริงๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่นายจ้างและลูกจ้างควรทำความเข้าใจกันให้ดีเสียก่อน

Standby ทำงาน สิ่งที่ลูกจ้างต้องคำนึง

ในมุมของลูกจ้างหากเป็นการ Standby ทำงาน ซึ่งมีการตกลงกันตั้งแต่วันสัมภาษณ์และก่อนเริ่มงานจริง พนักงานก็ไม่ควรเกี่ยงในเรื่องนี้ เพราะถ้าหากรับไม่ได้ก็ไม่ควรตกลงทำงานตั้งแต่ต้น และสำหรับการ Standby ทำงานในกรณีพิเศษ (นานๆ ครั้ง) หากไม่กระทบกับชีวิตส่วนตัวมากนัก ก็ควรให้ความร่วมมือกับองค์กร ถือเป็นการถ้อยทีถ้อยอาศัย โดยอาจพิจารณาถึงผลตอบแทนประกอบด้วยก็ได้ ที่สำคัญอย่าหายไปเฉยๆ หลังจากที่ตกลงกันไว้อย่างดีแล้ว เพราะนั่นถือเป็นการไม่รับผิดชอบ และมีความผิดที่ควรได้รับโทษ แม้จะเป็นการทำงานนอกเวลาก็ตาม


สรุป คือ การ Standby ทำงาน หากเป็นการเข้าไปรองานที่บริษัท ต้องได้รับค่าจ้างเป็นค่าล่วงเวลา แต่ถ้าหากเป็นการ Standby ทำงานที่บ้าน ก็ควรได้รับค่าจ้างตามความเหมาะสม อยู่บนพื้นฐานความเป็นธรรมที่ลูกจ้างควรได้รับจากนายจ้าง

กาเหว่า
กาเหว่าhttp://konderntang.com
มีความชอบและหลงไหลในเทคโนโลยีทางด้านไอที การลงทุน และเงินคริปโต .. นอกจากนี้แล้วมักใช้เวลาว่างไปกับการท่องเที่ยว ถ่ายรูป ไปค่ายอาสา ..

Read more

Local News