Over Sea

ชีวิตนักศึกษาปริญญาเอกที่เยอรมัน

เรียนต่อเยอรมัน

#ทีมเยอรมัน #ทีมเยอรมนี #เรียนปริญญาเอกในเยอรมนี

สวัสดีค่ะ ชื่อนุช นะคะ … ปัจจุบัน เป็นแม่ลูกสาม อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของเยอรมนี อยากจะมาเล่าประสบการณ์ การเรียนปริญญาเอก ในเยอรมนี ให้เพื่อน ๆ ได้อ่าน เผื่อว่า จะเป็นประโยชน์ สำหรับเพื่อน ๆ ที่อยากจะศึกษาต่อ ในประเทศเยอรมนี ต่อไป ค่ะ

บทความจะประกอบด้วย 2 ตอน คือ …

  1. ประสบการณ์โดยทั่วไป กับการอาศัยอยู่ในเยอรมนี และ การได้รับสัญชาติ
  2. ประสบการณ์ การเตรียมตัวสมัครเรียนปริญญาเอก ในประเทศเยอรมนี

* อาจจะยาวหน่อย ถ้าสนใจ ก็ค่อย ๆ อ่านนะคะ
——————-

I. ประสบการณ์โดยทั่วไป กับการอาศัยอยู่ในเยอรมนี และ การได้รับสัญชาติ

ปีนี้ ย่างเข้าสู่ปีที่ 12 แล้ว ที่นุชได้มาเรียนปริญญาเอก / มีครอบครัว + ลูกๆ 3 คน (เลี้ยงลูกไปด้วย พร้อมๆ กับเรียนปริญญาเอก) / และในที่สุดก็จบปริญญาเอก ด้วยความทรหดจนถึงที่สุด 55 / หลังจากนั้น ก็อาสาตัวเป็น แม่บ้านเต็มเวลา เพื่อเลี้ยงลูกๆ ได้อย่างใกล้ชิด จนถึงปัจจุบัน ค่า

โดยจุดเริ่มต้นอยู่ที่ ปลายปี 2008 จากการที่นุชมีเป้าหมาย อยากจะเรียนต่อในระดับปริญญาเอก ก็ทำให้ได้เหินฟ้า มายังเมือง Stuttgart ประเทศเยอรมนี หลังจากที่ ก่อนหน้านี้ ได้มาเยือนแล้วถึง 2 ครั้ง ผ่านการมาสัมมนานานาชาติของโบสถ์ ในปี 2007 และ การได้รับทุนสัมมนา จากองค์กรทางการเมือง ของเยอรมนี ให้มาร่วมสัมมนากับหัวข้อ Strategic planning ในช่วงกลางปี 2008
ซึ่งแน่นอนว่า วีซ่าที่มีในช่วงแรก ของการอาศัยอยู่ ในเยอรมนีนั้น คือ วีซ่านักเรียน และเมื่ออาศัยอยู่ในเยอรมนี ในฐานะนักศึกษาปริญญาเอกได้ 1 ปี นุชก็ตัดสินใจแต่งงานกับสามีชาวเยอรมัน ที่ก่อนหน้านั้นได้รู้จักกัน ตั้งแต่ปี 2006 จากการพบกัน ที่โบสถ์ในเมืองไทย

——————-

ก็เป็นอะไรที่เบื้องบนกำหนด และอนุญาตให้เราทั้งสองคนได้รู้จักกันมากขึ้น เมื่อนุชได้มาเรียนปริญญาเอก ที่เมือง Stuttgart ซึ่งในเวลานั้น สามีก็ทำงานเป็นนักวิชาการ และเรียนเพิ่มเติม อยู่ที่มหาวิทยาลัย Stuttgart เช่นเดียวกัน ค่ะ

เมื่อความรักบ่มตัวได้สุกงอม พวกเราก็พร้อมใจกันสร้างครอบครัวขึ้น โดยเบื้องบนก็อวยพร ให้พวกเรามีลูกๆ ถึงสามคนด้วยกัน

——————-

โดยระหว่างทาง ที่นุชทำวิทยานิพนธ์ ในระดับปริญญาเอกไปด้วย และเลี้ยงลูกๆ ทั้งสามคนไปด้วยนั้น นุชก็ต้องเรียนภาษาเยอรมันไปด้วย ทั้งนี้เพราะระดับของภาษา โดยเฉพาะ B1 (จากระดับ A1, A2, B1, B2, C1, C2) เป็นระดับที่ทางการเยอรมัน จะใช้พิจารณาเรื่องสัญชาติ & วีซ่าถาวร ค่ะ /ดูยุ่งเหยิง งานเยอะ และกดดัน นะคะ / แต่ก็ผ่านมันมาได้ ด้วยแรงใจ จากครอบครัว & ความถึก ค่ะ 555

——————-

ก็เป็นอันว่า นุชก็ได้รับวีซ่าถาวร จากการยื่นความสามารถด้านภาษาในระดับ B1, การสอบความรู้ด้านการเมืองพื้นฐานของเยอรมนี และเอกสารหลักฐานว่า นุชได้มาเรียนต่อในระดับปริญญาเอก ในเยอรมนี
(ซึ่งเพื่อนๆ บางคน ก็อาจจะยื่นเรื่อง การแต่งงานกับคนเยอรมัน เพื่อขอสัญชาติ หรือ วีซ่าถาวรได้ เพียงแต่ต้องมี เอกสารรายได้ ของสามี แนบมาเพื่อรับรอง ด้วยเท่านั้นค่ะ)
ซึ่งนุชได้รับวีซ่าถาวร ในประเทศเยอรมนี ก่อนที่นุชจะเรียนจบปริญญาเอก อย่างเป็นทางการเสียอีก รวมถึง ลูกๆ ในเวลานั้น ก็มีอายุประมาณ 5, 3 & 1 ขวบ

——————-

* หลังจากนั้นไม่นาน นุชก็สามารถเรียนจบปริญญาเอก ได้อย่างน่าภาคภูมิใจ แล้วตัดสินใจ ร่วมกันกับสามี ที่จะเป็น แม่บ้านเต็มเวลา มาได้กว่า 5 ปีแล้วค่ะ
โดยมีเป้าหมายที่จะ ดูแลลูกๆ อย่างเต็มที่ ให้มีความสุข และถูกพัฒนาศักยภาพ ให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้

พร้อมทั้งเชื่อว่า เมื่อลูกๆ โตขึ้น จะมีอะไรที่น่าสนใจ และท้าทาย ในสังคมเยอรมัน ให้นุชได้ตื่นเต้นอีก อย่างแน่นอน

——————-

ตั้งแต่ที่นุช ได้อยู่ในประเทศเยอรมนีมา ก็มีประสบการณ์หลากหลายนะคะ แต่ส่วนใหญ่ นุชมีประสบการณ์ที่ดี กับทั้งชีวิตการเรียน ในมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ แห่งหนึ่งของเยอรมนี, ประทับใจ ความมีน้ำใจ และความเป็นคนช่างคิด วิเคราะห์ การมีใจสาธารณะ มีระบบระเบียบ ประหยัดมัธยัสถ์ ของคนเยอรมัน รวมถึง รู้สึกทึ่ง กับระบบการเมือง การปกครอง และการจัดสรรสวัสดิการ & บริการที่ดี ให้กับประชาชน ของรัฐในเยอรมนี มาก ๆ ค่ะ

——————-

อย่างไรก็ดี นุชก็คิดว่า ในทุกๆ ที่ ก็มีทั้ง ข้อดี และข้อที่อาจจะท้าทาย กับชีวิตของเรา ทั้งนีั อยู่ที่ ทัศนคติ & การพร้อมปรับตัว ในการดำรงชีวิตอยู่ ของเราแต่ละคน ซึ่งสำหรับบางคน การอยู่ในต่างแดน ต่างชาติ ต่างภาษา อาจจะดูเป็นเรื่องไม่ยากมาก ที่จะปรับตัว แต่สำหรับบางคน อาจจะดูท้าทายมากๆ

ดังนั้น ก็อยากให้คิด วิเคราะห์ กับชีวิตของเราให้ดี ว่าอะไรคือ สิ่งที่เหมาะสมกับชีวิตของเรา และที่สำคัญ นุชคิดว่า ไม่มีอะไรหรอก ที่ดีที่สำเร็จ ที่เราจะได้มันมาอย่างง่ายๆ คือ มันต้องจ่ายราคา ทั้ง เวลา แรงกาย แรงใจ ทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีเงื่อนไข ของ ความแตกต่างด้านภาษา วัฒนธรรม ค่านิยม ความคิด ในสังคม ค่ะ

ก็ขอเป็นกำลังใจ ให้เพื่อนๆ ทุกคน สามารถที่จะเผชิญกับ ทุกสิ่ง ทุกสถานการณ์ และทุกคน ที่เพื่อนๆ ได้พบเจอ ด้วยหัวใจ แห่งการเรียนรู้ เพราะว่า ชีวิต คือ การเรียนรู้ จริงๆ และ หัวใจแห่งการเรียนรู้ รวมถึง ทัศนคติที่ดี ในการมองโลก มองสถานการณ์นี่แหละ จะช่วยให้ชีวิตของเรา ก้าวไปข้างหน้า ได้อย่างไม่หยุดยั้ง ค่า

——————-

II. ประสบการณ์ การเตรียมตัวสมัครเรียนปริญญาเอก ในประเทศเยอรมนี

[ ] “การเรียนปริญญาเอก” ในประเทศเยอรมนีนั้น มีพื้นฐานความคิดว่า ไม่ใช่เป็นการเรียน …

แต่เป็น “การทำงาน” ค้นคว้า เพื่อหาความเป็น สุดยอดทางวิชาการ และนำเสนอ ออกมาเป็น ผลงานของตัวเอง

——————

[ ] ดังนั้น การเรียนปริญญาเอก ในเยอรมนี

จึงไม่ใช่ที่ ทุกๆ มหาวิทยาลัย จะจัดให้มี การเรียนการสอน หรือ coursework เพื่อปูพื้นฐาน ความรู้ความเข้าใจ ก่อนที่จะเริ่มต้นทำโครงงานวิจัย

——————

[ ] ซึ่งในกรณีของนุชนั้น

ก็คือ ทางคณะ & ภาควิชาของนุช ไม่มีชั้นเรียนใดๆ ให้เข้าร่วม หรือเก็บหน่วยกิตอะไร อย่างไรก่อน … กล่าวคือ นุชบินมาจากเมืองไทย หลังจากคุยกับศาสตราจารย์ ที่สนใจในโครงร่างวิจัยของนุช ผ่านทางอีเมลล์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว > เพื่อจัดการสอบเข้า (ประกอบด้วย ข้อสอบปากเปล่า 2 วิชา วิชาละ 30 นาที และการเขียนงานระดับ Diplom จำนวน 60 หน้า)

หลังจากที่ผ่านขั้นตอนดังกล่าวทั้งหมดแล้ว ซึ่งนุชใช้เวลาเกือบครึ่งปี ก็ได้สถานะการเป็นนักเรียนด๊อกเตอร์ อย่างเป็นทางการ แล้วก็สามารถเริ่มนำเสนอโครงร่างงานวิจัยจริงๆ ที่ต้องการเขียนได้ โดยที่ไม่ต้องมีชั้นเรียน Course work ใดๆ

——————

[ ] อย่างไรก็ดี ทางภาควิชา ของนุชนั้น

ก็ยังมี การจัดสัมมนาวิชาการ ของนักเรียนปริญญาเอกด้วยกันเอง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อจุดประกาย ความตื่นตัวทางวิชาการ ให้แก่กันและกัน โดยมีศาสตราจารย์ที่ปรึกษา หรือ Doktorvater เข้าม นั่งฟัง ดีเบต และให้คำแนะนำ ค่ะ

——————

[ ] ดังนั้น ชีวิตของนักศึกษา ในระดับปริญญาเอก

ในประเทศเยอรมนีนี้ … จึงถือว่า เป็นการเรียนที่ลุยเดี่ยวจริงๆ ซึ่งกุญแจสำคัญ ที่จะทำให้พวกเรานักศึกษาปริญญาเอก ไปถึงฝั่งฝันได้นั้น ก็คือ ระเบียบวินัย ความมุ่งมั่นและ การควบคุมตัวเอง ไม่ให้หลงลืมว่า ฉันจะต้องเขียนงานวิจัยให้จบ ตามเวลา หรือ ตามจำนวนเทอมการศึกษาที่มีนะ!!!

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่จะต้องจัดสรรเวลา ที่ดูเหมือนมีอยู่มาก หรือ ดูว่าง เพราะไม่มีชั้นเรียนใดๆ เลย (แต่จริงๆ ไม่ว่าง 55) ให้ดี เพื่อที่จะอ่าน ค้นคว้า และเขียนงาน ด้วยตัวเอง ภายใต้การดูแลแบบห่างๆ ของศาสตราจารย์ที่ปรึกษา แบบที่ต้องขอนัดหมายกับท่านเท่านั้น จึงจะได้พูดคุยงานกัน ซึ่งปกติ นุชจะได้พบท่านเทอมละ 1 – 2 ครั้ง

——————

[ ] แนวทางดังกล่าว ถือว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

เพราะว่า เป็นแนวทางแบบ อิสระ & ตัวคนเดียว จริงๆ

——————

เมื่อระบบการเรียนปริญญาเอก ในเยอรมนี ออกแบบมาให้มีลักษณะของ การทำงานเดี่ยว แบบผู้ใหญ่จริงๆ > มากกว่า การจัดให้นักศึกษา มานั่งเรียน ตาม coursework ก่อน แบบที่เล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่าน ในข้างต้น …

[ ] “ระบบการสอบเข้า”

เพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ในเยอรมนี จึงไม่ใช่ลักษณะ ของการสอบแข่งขัน กับคนจำนวนมากก่อนจะถูกคัดเลือก ให้เข้าเรียน อย่างที่คุ้นเคยกัน … แต่เป็นลักษณะของ ‘การค้นหา” ศาสตราจารย์ ที่ปรึกษา ด้วยตัวเอง และ “การเขียนนำเสนอ” โครงร่างงานวิจัยอย่างไร ให้ได้รับความสนใจ และรับการยอมรับ จากศาสตราจารย์ท่านนั้นๆ ที่เราค้นพบ และอยากจะทำงานร่วมด้วย

——————

[ ] ซึ่ง “การค้นหา” ศาสตราจารย์ จากทั่วโลก

ตามสาขางานวิจัย ที่เราสนใจ และอยากจะทำงาน ร่วมด้วยนั้น ก็ว่ายากแล้วนะ

[ ] เพราะว่า เราจะต้องค้นหาศาสตราจารย์ ที่คิดว่า ท่านน่าจะสนใจในหัวข้อ ไอเดียของ งานวิจัย ที่เราเขียนจริงๆ

แต่ที่ยากกว่า ก็คือ ศาสตราจารย์ท่านนั้นๆ จะยอมรับ และอยากทำงานกับเราไหม? คือใช่ว่า เมื่อนำเสนอตัวเอง และโครงงานของเรา ไปแล้ว เราจะได้รับการยอมรับ และอนุญาตให้มาสอบ และมาเรียนต่อ ได้เลย  มันมีเรื่องของ ความสนใจในงานวิชาการ ความสามารถในงานวิชาการ ความสามารถด้านภาษา

คุณสมบัติอื่นๆ เอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมถึง อายุ ของศาสตราจารย์ท่านนั้นๆ ด้วย

——————

ขั้นตอนต่างๆ ที่สำคัญ ของการสอบเข้าเรียนต่อ

ระดับปริญญาเอก ในเเยอรมนี จึงมีดังต่อไปนี้ –

ขั้นตอนที่1 :

“ค้นหาศาสตราจารย์” ที่น่าจะมี ความสนใจ ในงานวิชาการ และร่างวิทยานิพนธ์ของเรา

— จากประสบการณ์ส่วนตัว นุชก็ได้แนะนำตัวเอง และส่งโครงร่างงานวิจัย สมัครไว้ ในหลายมหาวิทยาลัย ในยุโรป
— ศาสตราจารย์บางท่าน จากบางมหาวิทยาลัย
สนใจโครงร่างงานวิจัยของนุช ที่ส่งไป แต่เนื่องจาก ศาสตราจารย์ท่านั้น มีอายุใกล้เกษียณแล้ว จึงปฏิเสธที่จะให้นุชไปเรียนปริญญาเอก กับท่าน
— ซึ่งกว่าจะได้คำตอบ Yes ก็ถูกปฏิเสธไปหลายครั้งเลยทีเดียว …

——————

ขั้นตอนที่2 :

การยื่นตรวจสอบเอกสาร เกี่ยวกับการเรียน และสถาบันการศึกษา ทั้งปริญญาตรี และโทของเรา กับมหาวิทยาลัยคณะ และภาควิชา ที่เรายื่นเสนอโครงร่างวิจัยไป

— ทางมหาวิทยาลัยของเยอรมนี จะมีลิสต์วัดระดับว่า ในระดับมหาวิทยาลัยของไทย มีมหาวิทยาลัยใดบ้าง ที่มีระดับมาตรฐานเทียบเท่ากับ มหาวิทยาลัยในเยอรมนี หรือในยุโรป และกำหนดเกรดเฉลี่ยเอาไว้ ซึ่งก็พิจารณาตามเกณฑ์ของแต่ละมหาวิทยาลัย
— หากใครไม่ได้จบ ในมหาวิทยาลัยที่เทียบเท่า
กับมหาวิทยาลัย ในเยอรมนี ก็อาจจะไม่ผ่านเกณฑ์ หรือ อาจจะต้องทำเงื่อนไขบางอย่าง เพิ่มขึ้น เพื่อจะได้รับการคัดเลือก ให้ไปสู่ ขั้นตอนการสอบเข้าต่อไป …

โดยเอกสารทั้งหมดนี้ ค้องทำการแปลเป็นภาษาอังกฤษ อย่างเป็นทางการให้เรียบร้อย ก่อนยื่นกับทางภาควิชานะคะ

——————

ขั้นตอนที่3 :

การเรียก “สัมภาษณ์” โดยทั่วไป

— ในขั้นนี้ หลังจากติดต่อ พูดคุยกับศาสตราจารย์ท่านนั้นๆ ที่เราอยากให้ท่าน มาเป็น ศาสตราจารย์ที่ปรึกษา และได้รับการตอบรับจากท่านแล้ว
— เราก็จะได้รับจดหมายเชิญ จากศาสตราจารย์ที่ปรึกษาท่านนั้น ให้ไปสอบสัมภาษณ์ทางวิชาการ หรือ เรียกให้ไป สอบปากเปล่า ตามวิชาที่ต้องการค่ะ

——————

ขั้นตอนที่4 :

การสอบปากปล่าว 2 วิชาหลัก กับ 2 ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญ วิชาละ 30 นาที เป็นภาษาอังกฤษ หรือเยอรมัน

มาถึงขั้นตอนนี้ หากสอบไม่ผ่าน ก็อาจจะต้องกลับประเทศไทยสถานเดียว เนื่องจากวีซ่าที่ได้ ในช่วงแรกนั้นเป็นวีซ่าชั่วคราว ที่มีอายุเพียงสามเดือน เท่านั้น

——————

— อย่างไรก็ดี ขั้นตอนทั้งหมดยังไม่เสร็จสิ้นนะคะ

ทั้งนี้เพราะ นุชต้องผ่านขั้นตอนสุดท้าย เสียก่อน

นั่นคือ

——————

ขั้นตอนที่5 :

การเขียนวิทยานิพนธ์ ฉบับ Diplom จำนวน 60 หน้า ในภาษาอังกฤษ หรือ เยอรมัน

— ขั้นตอนนี้ บางคนใช้เวลานานกว่าจะผ่าน ก็อาจจะเป็นปีเลย

——————-

*** ซึ่งหากเพื่อนๆ สามารถผ่านขั้นตอนทั้งหมด ที่กล่าวมาในข้างต้นได้ เพื่อนๆ ก็จะได้สถานะเป็น “นักเรียนด๊อกเตอร์” อย่างเป็นทางการ และเริ่มต้นทำงานโครงร่างวิจัย จนถึง การขอสอบปกป้องวิทยานิพนธ์ได้ โดยมีเวลาให้จำนวน 12 เทอมการศึกษา + 2 เทอมการศึกษา แบบ extra ในกรณีที่ต้องขยายเวลา ค่ะ

——————

หวังว่า การแบ่งปันประสบการณ์เรื่อง การเรียนปริญญาเอก และการขอสัญชาติ ในประเทศเยอรมนีนี้ จะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ไม่มากก็น้อยนะคะ เพื่อนๆ สามารถติดตามบทความดีๆ มีประโยชน์ และสร้างแรงบันดาลใจ พร้อมเกร็ดความรู้เกี่ยวกับชีวิต ความเป็นอยู่ ในประเทศเยอรมนี จากเพจ ของนุช ที่มีชื่อว่า ความสุขแบบแม่ๆ กับ สามใบเถารักดนตรี ได้ที่ : https://www.facebook.com/ADrMomof3Girls/ ขอให้เพื่อนๆ ประสบความสำเร็จ ตามเป้าหมายที่ตั้งใจ ค่ะ