Friday, July 11, 2025
Home Blog Page 32

How to : การขุดเหรียญ Monero (XMR)

0

Monero (XMR) เหรียญคริปโต หรือเงินดิจิตอลยอดนิยมอันดับต้น ๆ ใช้อัลกอริทึ่ม Cryptonote ในการเข้ารหัส และใช้ Proof of Work ในการยืนยันการทำรายการนั่นหมายความว่า เราสามารถขุดเหรียญ Monero (XMR) ได้ทั้ง VGA และ CPU (ในปัจจุบัน ณ วันที่เขียนบทความ 6 ตุลาคม 2560) ยังไม่มีเครื่อง ASIC สำหรับขุดเหรียญ Monero (XMR)

สำหรับอุปกรณ์ที่ขุดเหรียญ Monero (XMR) ได้ดีที่สุดในตอนนี้คือการ์ดจอจากค่าย AMD แต่ไม่ต้องยึดติดกับการ์ดจอค่ายนี้นะครับ สำหรับ CPU หรือ การ์ดจอจาก Nvidia ก็ใช้ได้เหมือนกัน

ตอนที่ 1 : ขุดเหรียญ Monero (XMR) ด้วย CPU

1. ดาวน์โหลดโปรแกรมสำหรับขุดเหรียญ Monero (XMR) สำหรับในบทความนี้เราจะใช้ Software ชื่อ Wolf’s Cryptonote. (ดาวน์โหลดที่นี่)
Where Curiosity Meets Creativity
2. แตกไฟล์ที่ดาวน์โหลดมา จะได้ Software คล้ายดังภาพข้างล่างนี้
Where Curiosity Meets Creativity

3. กดปุ่ม Ctrl + คลิกเม้าขวา ในโฟลเดอร์ที่ได้แตกออกมาจากขั้นตอนที่แล้ว จะมี Popup เมนู “open command window here“, เพื่อเข้าสู่หน้าจอ command prompt

Where Curiosity Meets Creativity

4. เอาล่ะครับทีนี้จะขึ้นหน้าจอ Command Prompt เพื่อที่เราจะใช้คำสั่งในการขุดเหรียญ Monero (XMR) กันได้แล้ว โดยพิมพ์คำสั่ง : minerd -a cryptonight -o stratum+tcp://monerohash.com:3333 -u YOUR_WALLET_ADDRESS -p x“. แต่อย่าลืมนะครับ ตรง “YOUR WALLET ADDRESS” ให้เปลี่ยนเป็นหมายเลขกระเป๋า Monero (XMR) ของเราเองนะ

Where Curiosity Meets Creativity

ตอนนี้ก็เริ่มทำการขุดเหรียญแล้วล่ะครับ อันที่จริงแล้ว Sofware ตัวนี้ก็ยังมี Option อะไรอีกหลาย ๆ อย่าง สำหรับมือโปรเค้าใช้กัน ถ้าอยากรู้ว่ามีอะไรบ้าง ก็ลองพิมพ์คำสั่ง “minerd –help” ดูครับ จะมีทั้ง Option และคำอธิบายให้เราเลือกใช้ได้หลายอย่างเลย

Where Curiosity Meets Creativity

ตอนที่ 2 : ขุดเหรียญ Monero (XMR) ด้วย AMD VGA

1. เช่นกันครับสำหรับการขุดเหรียญ Monero (XMR) ด้วยการ์ดจอนั้นก็จำเป็นต้องดาวน์โหลด และแตกไฟล์ Software ออกมาก่อนครับ. ดาวน์โหลดได้ที่นี่

Where Curiosity Meets Creativity

2. เมื่อแตกไฟล์ออกมาแล้วเราจะต้องทำการแก้ไขไฟล์ชื่อว่า xmr.conf ซะก่อน เพื่อทำการตั้งค่า pool สำหรับขุด และใส่กระเป๋า Monero (XMR) ที่จะใช้รับเงิน จากตัวอย่างผมใช้ pool ชื่อว่า : “stratum+tcp://monerohash.com:3333″. ตรง user ให้ใส่ Wallet Address ของเรานะ จากตัวอย่างนี้ผมใช้ : “45hVQbLnspDDViJeMc1v6mFPjKmJ38geKVZFRgFXxV1pVSDpG8jz4LfTmkvhgj9sPwjA1ZLJD9d3xTUF982Uk7poL2Ka94z”.

Where Curiosity Meets Creativity

3. เมื่อทำการแก้ไข Config เรียบร้อยแล้วตอนนี้เราก็พร้อมที่จะทำการขุดเหรียญ Monero (XMR) กันแล้ว ในโฟลเดอร์เดิมนะที่ทำการแก้ไขเมื่อขั้นตอนที่ผ่านมา อย่าเพิ่งออกไปไหน ให้กดปุ่ม Ctrl + คลิกเมาส์ขวา ที่ไฟล์ xmr.conf แล้วเลือกคำสั่ง “open command window here” เพื่อเข้าสู่หน้า command

Where Curiosity Meets Creativity

4. เมื่อเปิดหน้าจอ command สีดำ ๆ มาแล้วให้พิมพ์คำสั่ง “miner xmr.conf” เพื่อเริ่มทำการขุดเหรียญ Monero (XMR) ครับ

Where Curiosity Meets Creativity

เท่านี้แหละครับสำหรับการขุดด้วยการ์ดจอ AMD ที่เหลือก็รอรับเงินเช่นเคยนะ

ตอนที่ 3 : ขุดเหรียญ Monero (XMR) ด้วย Nvidia VGA

1. ดาวน์โหลด Miner สำหรับขุด ซึ่ง Nvidia VGA จะใช้ Software ชื่อว่า CCMiner ดาวน์โหลดได้ที่นี่

Where Curiosity Meets Creativity

2. เมื่อดาวน์โหลดเสร็จแล้วก็แตกไฟล์ที่ได้มา เหมือนเดิม จะได้หน้าตาเหมือนภาพด้านล่างนี้

Where Curiosity Meets Creativity

3. หลังจากนั้นถ้ากดปุ่ม Ctrl + คลิกเม้าส์ขา เพื่อเปิดหน้าจอ command line โดยเลือกคำสั่ง “open command window here”

Where Curiosity Meets Creativity

4. ในหน้าจอ Command line ให้พิมพ์คำสั่ง “ccminer -o stratum+tcp://monerohash.com:3333 -u YOUR_WALLET_ADDRESS -p x”. ตรงคำว่า “YOUR_WALLET_ADDRESS” ให้ใส่ Wallet Address ของเราเองนะครับ

Where Curiosity Meets Creativity

สำเร็จแล้วครับ

ตอนที่ 4 : ขุดเหรียญ Monero (XMR) ด้วย คอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไป

นอกจากการขุดเหรียญ Monero (XMR) ด้วยเทคนิคข้างต้นทั้ง 3 วิธีแล้ว ยังมีง่าย กว่านั้นอีกอย่างนึง ก็คือการขุดด้วยโปรแกรม Minergate ซึ่งวิธีนี้สามารถขุดได้แทบจะทุกเครื่อง PC เลยทีเดียว จะได้มาก ได้น้อย ขึ้นอยู่กับความเร็วของ CPU ด้วยครับ

1. ก่อนเริ่มใช้งานให้สมัครสมาชิกที่เว็บไซต์ www.minergate.com หลังจากนั้นหาเมนูดาวน์โหลด Software เลือกให้ตรงกับ OS ที่เราใช้งาน

Where Curiosity Meets Creativity

2.  ขั้นตอนหลังจากที่ได้ดาวน์โหลด Software Minergate มาแล้วให้ทำการติดตั้ง และเปิดใช้งาน

Where Curiosity Meets Creativity

3. หน้าจอหลังจากที่เปิดใช้งานโปรแกรม Minergate ให้คลิกที่ “Start smart mining”. โปรแกรมจะทำการคำนวณความเร็วของเครื่องและเลิกเหรียญที่ขุดได้ผลกำไรดีที่สุดให้เราครับ

Where Curiosity Meets Creativity

หรือหากเราไม่พอใจที่โปรแกรมเลือกใช้เราเองก็สามารถที่จะปรับได้ว่าจะใช้ CPU, VGA กี่ Core ตามขนาดของทรัพยากรที่เรามีอยู่ในเครื่องเรา

Where Curiosity Meets Creativity

เห็นมั้ย! หาเงินออนไลน์ สร้างรายได้เป็นแบบ Passive Income ง่ายนิดเดียวเอง สำหรับใครที่สงสัยยังไม่สามารถทำได้ ก็สามารถติดต่อเข้ามาสอบถามทีมงานเราได้เลยครับ


ต้นฉบับบทความ

Cryptocompare.com

รู้จักกับ Proof of Work

0
รู้จักกับเทคโนโลยีบล๊อคเชน

Proof of work (ปริมาณงาน) คือ การแข่งขันเพื่อหาแฮชที่สามารถทำเงินได้ โดย นักขุดบิทคอยน์ นักขุดจะมีโชคที่จะสามารถค้นพบแฮชนั้นๆ น้อยมากเสียจน หากมีใครคนใดคนหนึ่งหาเจอ ก็จะถือว่าเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่านักขุดคนนั้นได้ทำผลงานและสมควรที่จะได้รับรางวัลจากบล็อก (เพราะหายากไง)

ยังมีปัญหาอีกก็คือ เพื่อให้มีโอกาสในการขุดเจอรางวัลนั้นๆ คุณอาจจะต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์ขนาดใหญ่ซึ่งเป็นตัวท็อปและอาจมีราคาสูงถึง 10,000 เหรียญสหรัฐ (หรือราวๆ 350,000 บาท) ซึ่งหมายความว่า บริษัทต่างๆ  ที่ได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนกำลังค่อยๆ ได้รับส่วนแบ่งตลาดขนาดใหญ่ของเครือข่ายแฮชนี้

Proof of Work คืออะไร
ภาพประกอบจาก : https://blockgeeks.com/guides/proof-of-work-vs-proof-of-stake/

หลายๆ คนรู้สึกว่า บิทคอยน์ ได้สูญเสียสเน่ห์ดั้งเดิมไป เนื่องจากปัจจุบันการ ขุดบิทคอยน์ ไม่ได้มาจากขุดในระดับปัจเจกบุคคลทั่วโลก ที่ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนตัวอีกต่อไป และจุดนี้เอง เหรียญแบบ Litecoin และ Scrypt ก็ได้เข้ามามีบทบาท โดยไม่อนุญาตให้ บริษัทขนาดใหญ่เข้ามามีอำนาจในเครือข่ายการขุด

นอกจากนี้ยังมีพัฒนาการอื่นๆ สำหรับ Proof of Work ที่สกุลเงิน crypto ได้นำเสนอนำเสนอรูปแบบของ Proof  อื่น ๆ เช่น proof of stake และ proof of burn เป็นต้น

หากคุณไม่มีอุปกรณ์การขุดบิทคอยน์ คุณสามารถทดลองซื้อสัญญาจ้างการขุดบิทคอยน์แบบระบบกลุ่ม, Proof of Work กับ Hashflare หรือ Genesis Mining ได้


https://www.cryptocompare.com/mining/guides/what-is-proof-of-work/

Mining Pool คืออะไร

0

Mining Pool เป็นกลุ่มของคนงานขุดเหมืองที่ทำงานร่วมกันเพื่อลดความผันผวนของผลตอบแทนของพวกเขา ซึ่งมันเป็นเหมือนกับการกระจายความเสี่ยงในการบริหารจัดการ portfolio หรือเปรียบเทียบง่ายๆ เช่น การถือครองสิบหุ้นมักจะดีกว่าการถือครองหุ้นเพียงหนึ่งเดียว

เมื่อนักขุดเหมือง (Mining) พยายามที่จะค้นหาแฮชไปยังบล็อกที่ทำเงินได้ ก็เหมือนกับได้เข้าร่วมลุ้นรางวัลล็อตเตอรี่

สมมติว่ามีตั๋วพันใบ แล้วคุณมีตั๋วอยู่หนึ่งใบ ความน่าจะเป็นในการถูกรางวัลของคุณมีเพียง 1 ต่อ 1000 แต่ถ้าหากคุณมีตั๋ว 100 ใบ โอกาสในการถูกรางวัลของคุณก็จะเพิ่มเป็น 1 ต่อ 10 ดังนั้นคุณก็มีลุ้นที่จะถูกล็อตเตอรี่ทุกๆ สิบครั้งที่มีการจับรางวัล หากมีเพียงตั๋วหนึ่งใบ โอกาสของคุณที่จะถูกรางวัลก็จะเกิดขึ้นในทุกๆ รอบพันครั้งเท่านั้น

อย่างไรก็ตามหากคุณไม่สามารถซื้อตั๋วทั้ง 100 ใบได้ คุณก็สามารถที่จะเข้าร่วมกับอีก 99 ใบที่เหลือได้ โดยการจัดกลุ่มย่อยและแบ่งรางวัล ทุกๆ ครั้งที่คุณถูกรางวัล นั่นหมายความว่ากระแสเงินสดของคุณจะน้อยลงแต่ว่าถี่ขึ้น ซึ่งหมายถึงการผันผวนที่ต่ำลงด้วย

เป็นความจริงสำหรับการทำเหมือง Bitcoin และการเข้ารหัสลับใน สกุลเงิน crypto คือถ้าคุณมีเครื่อง 1TH และกำลังขุดในเครือข่าย Bitcoin เท่ากับ 1 PetaHash คุณจะมีโอกาส 1 ใน 1000 ของการแก้ปัญหาบล็อกทุกสิบนาที คุณอาจไม่ได้ใช้เวลาแก้ปัญหานี้นานด้วยซ้ำ แต่โดยการร่วมงานกับคนงานเหมืองอื่นๆ ใน Mining Pool นั้นๆ

  • คุณจะสามารถจัดกลุ่มและทำงานแบบผสมผสานกัน
  • ร่วมมือกันเพื่อแบ่งผลตอบแทนที่แปลผันตรงกับเปอร์เซ็นต์ของกำลังการขุดของแต่ละคนที่ให้กับ Mining Pool นั้นๆ

ดังนั้นถ้าคุณมี 10 TH จาก 100 TH ของ Mining Pool นั้นๆ คุณได้รับรางวัลบล็อกจำนวน 25 Bitcoins ซึ่งหมายความว่าคุณจะได้รับ 10% หรือ 2.5 BTC

การขุดแบบ Bitcoin mining pool เป็นวิธีที่ดี ที่จะทำให้ผลตอบแทนของคุณได้แบบราบรื่น แต่คุณจะเสียค่าใช้จ่ายแทน โดยปกติจะเป็น 1-2% ของเงินที่ถูกรางวัลของคุณ แทนที่เงินนั้นจะกลับไปหานักขุดแร่ Bitcoin ที่คุณซื้อมา คุณสามารถรับจ้างขุดได้โดยการซื้อสัญญาการทำเหมืองบิทคอยน์ ซึ่งจะให้สิทธิ์คุณในการใช้พลังงานในการขุดจำนวนหนึ่งในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งเหล่านี้เรียกว่าการทำเหมืองแบบกลุ่ม


https://www.cryptocompare.com/mining/guides/what-is-a-mining-pool/

หารายได้จากเงินดิจิตอลกัน

0
สร้างรายได้ด้วยเงินดิจิตอล

สกุลเงินดิจิตอล นั้นสามารถหาเงินง่าย ๆ เหมือนกันฝากเงินไว้กับธนาคารเลย เหมาะสำหรับคนที่ไม่ชอบความเสี่ยง หรือรับความเสี่ยงได้ในระดับที่ไม่สูงมาก

หลักการง่าย ๆ ก็คือเอาเงินจริง ๆ นี่แหละ มาซื้อสกุลเงินดิจิตอลเก็บเอาไว้ในกระเป๋าเงินออนไลน์ของเรา ทิ้งไว้สักระยะ เช่น 6 เดือน 12 เดือนก็ว่ากันไป หลังจากนั้นก็มาดูว่าเงินเราเติบโตไปเท่าไหร่ แล้วก็ถอนออกมาใช้งาน (ง่ายมั้ย)

สำหรับผมเองก็จะเลือกลงทุนวิธีนี้เช่นกัน ซึ่งตั้งใจเอาไว้ว่าจะฝากไว้เหรียญละ 12 เดือน โดยเลือกฝากไว้ 5 สกุลเงิน ได้แก่ Bitcoin, Ethereum, Ethereum Classic, Ripple และ Monero

ใครที่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะฝากตัวไหนก็ลองดูแนวโน้มของแต่ละเหรียญได้จากเว็บ coinmarketcap.com

สร้างรายได้ด้วยเงินดิจิตอล

หลักง่าย ๆ ในการเลือกเหรียญ แบบมีความเสี่ยงน้อย
สำหรับเทคนิคง่าย ๆ ของผมในการเลือกว่าจะฝากสกุลเงินไหนนั้น ก็คือ เลือกดูจากกราฟว่าแนวโน้มของแต่ละเหรียญนั้นขึ้น หรือ ลงเป็นยังงัยบ้าง และจะเลือกเหรียญที่อยู่อันดับต้น ๆ

Bitcoin

สร้างรายได้ด้วยเงินดิจิตอล

Ethereum

สร้างรายได้ด้วยเงินดิจิตอล

Ripple

สร้างรายได้ด้วยเงินดิจิตอล

Ethereum Classic

สร้างรายได้ด้วยเงินดิจิตอล

Monero

สร้างรายได้ด้วยเงินดิจิตอล

สรุป

เป็นข้อมูลและทางเลือกไว้ให้คนที่กำลังมองหาลู่ทางในการลงทุน จากตัวอย่างที่เห็นนั้นก็เป็น port ที่ผมถืออยู่ ไม่ได้หมายความว่ามันดีทั้งหมด แต่ผมก็เลือกลงทุนตามข้อมูลและสถิติที่มี ขอให้โชคดีทุกท่านครับ … รักนะ จุ๊บ จุ๊บ


  • สมัครบิทคอยน์ในไทยเพื่อใช้งานที่เว็บไซต์ www.coins.co.th
  • เว็บสำหรับเทรดเหรียญดิจิตอลใหญ่ที่สุด www.poloniex.com

ข้อแตกต่างระหว่าง Ethereum และ Ethereum Classic

0
Ethereum Hard Fork
ภาพประกอบจาก : https://bitcoinmagazine.com/

จุดกำเนิดของ Ethereum Classic (ETC) นั้นเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2559 เนื่องจาก Ethereum ชุดเดิมนั้นถูก Hack ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าทางออกที่ดีที่สุดก็คือการ Hard Fork (การย้ายข้อมูลไปไว้ที่ Blockchain ใหม่ เนื่องจาก Blockchain เดิมไม่สามารถแก้ไขได้) แน่นอนว่าการ Hard Fork นั้นได้มีเสียงแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ

  1. ฝ่ายที่เห็นด้วยกับการ Hard Fork : คือคนที่คิดว่าต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อให้ได้เงินทุนจาก TheDAO กลับคืนมา ไม่มีเหตุผลอะไรที่ต้องปล่อยให้แฮกเกอร์ได้เงินนั้นไปฟรี ๆ
  2. ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการ Hard Fork : คือคนที่คิดว่า การจะ Hard Fork เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดของตัวเองนั้น เป็นการลบหลู่ความมุ่งมั่นที่มีมาแต่ดั้งเดิมคือ บล็อกเชนต้องไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ “Code is law” อีกทั้งตราหน้ากลุ่มทีมพัฒนา Ethereum ว่าได้ลงทุนใน TheDAO ไปเยอะ จึงอยากจะ Hard Fork เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเอง

ซึ่งการ Hard Fork ถึงจะมีเสียงแตกเป็นสองฝ่ายแต่สุดท้ายก็ได้รับผลโหวทข้างมากให้ ทำการ Hard Fork ภายในวันที่ 24 ก.ค. 2559 และขั้นตอนของมันคือการ ย้ายข้อมูลทั้งหมดไปบน บล็อกเชน ใหม่นั่นเอง (เนื่องจากบล็อกเชนไม่สามารถแก้ไขได้ ข้อผิดพลาดจาก TheDAO ก็เช่นกัน เหมือนบ้านที่มีช่องโหว่รอโจรมาปล้นซ้ำ ทางเดียวคือย้ายบ้านใหม่นั่นเอง)

Where Curiosity Meets Creativity

จุดเกิดของ ETC (Ethereum Classic)

เมื่อการย้ายข้อมูลไปบนบล็อกเชนใหม่ที่ได้แก้ไขช่องโหว่เรียบร้อยแล้วสำเร็จลุล่วง เกิดคำถามขึ้นมาว่าแล้ว บล็อกเชนเก่าล่ะ จะทำอย่างไรกับมันดี? ในช่วงก่อนการ Hard Fork เพียง 2–3 วันนั้น มีกลุ่มนักพัฒนาที่ไม่เห็นด้วยกับการ Hard Fork ประกาศตั้งต้นเรียกตนเองว่า Ethereum Classic พวกเขาบอกกับทุกคนว่าเราจะตั้งมั่นในจุดมุ่งหมายเดิม ไม่ว่าอย่างไร Ethereum บล็อกเชนจะต้องไม่มีวันเปลี่ยนแปลง!

กลุ่ม Ethereum Classic ตั้งขึ้นก่อนการ Hard Fork เพียงไม่กี่วัน เมื่อทีมพัฒนาหลักยังสนับสนุน Ethereum (ETH) แล้ว Ethereum Classic (ETC) ซึ่งมีแต่บล็อกเชนแต่ไม่มีคนพัฒนาเหมือนกับร่างกายที่ไร้วิญญาณ มันจะไปรอดได้อย่างไร?

ในระหว่างที่ทุกคนกำลังสงสัยอยู่นั้น มีข้อเท็จจริงอยู่อย่างหนึ่งคือ

ใครก็ตามที่ถือครอง ETH ก่อนการ Hard Fork คนนั้น จะได้ ETC จำนวนเท่ากับที่ถือครอง ETH!

(ของมันแน่อยู่แล้ว เพราะ ETC ก็คือจำนวน ETH ก่อนที่จะถูกย้ายสำเนาไปไว้บน บล็อกเชนใหม่นั่นเอง)

จุดเปลี่ยน

ตูมมมม เหมือนฟ้าผ่า เมื่อ Poloniex ประกาศสนับสนุนเทรด ETC/BTC หลังจบการ Hard Fork เท่ากับว่า ETC ที่ถืออยู่นั้นมีมูลค่าขึ้นมาทันที มีการเทรดกันอย่างบ้าคลั่งที่ Poloniex ปริมาณการซื้อขายนั้นแซง ETH อย่างไม่เห็นฝุ่น เหตุผลเพราะว่า คนเทขาย ETC เพราะคิดว่ามันไม่มีมูลค่า ใครอยากรับก็รับไป ใครจะยอมถือของโจร อย่าลืมว่า ETC คือบล็อกเชนเก่าที่โดนแฮก นั่นหมายความว่าโจรมี ETC พร้อมเทอยู่หลายล้านเลยทีเดียว บลาบลาบลา ด้วยเหตุผลอีกมากมาย

แต่อย่าลืมกฏที่ว่า ใครถือ ETH ก่อน Hard Fork เท่าไหร่ จะได้ ETC ไปเท่านั้น

แล้วใครล่ะที่จะถือ ETH ปริมาณมหาศาล? ถ้าไม่ใช่……

Where Curiosity Meets Creativity

ใช่แล้วครับ

จะเป็นใครไปไม่ได้นอกจากเขาคนนี้ และการตัดสินใจเปิดเทรด ETC เป็นเจ้าแรกนั้น ก็รับค่าธรรมเนียมการซื้อขายไปฟรี ๆ เพราะฉะนั้นดูเหมือนว่าเค้กก้อนนี้ Poloniex จะรับไปเต็ม ๆ และเมื่อเห็นเม็ดเงินมหาศาลขนาดนั้น ต่อให้ ETC ไม่มีค่าอะไร เปิดเทรดเอาค่าธรรมเนียมก็รวยแล้ว จะรออะไร BITTREX และ KRAKEN โดดแจมด้วยทันที

เมื่อเว็บเทรดสามทหารเสือร่วมวงแล้ว เว็บรายย่อยก็ร่วมด้วยเช่นกัน

สรุปส่งท้าย

สงครามยังไม่สิ้นสุดอย่าพึ่งนับศพทหาร อะไรก็เกิดขึ้นได้ ณ ตอนนี้ สิ่งที่เห็นชัดเจนคือมีความพยายามในการผลักดันให้ ETC เป็น chain หลัก ด้วยปริมาณ Volume การซื้อขาย แต่อย่าลืมว่า ณ ปัจจุบันนี้ แฮกเกอที่แฮก ETH จาก TheDAO ซึ่งปัจจุบันเป็น ETC นั้นยังไม่ได้เคลื่อนไหวใด ๆ

และอย่าลืมว่า ETH เกิดขึ้นมาได้จากทีมพัฒนาขั้นเทพ

แล้ว ETC ล่ะ?

ปล. บทความนี้ค่อนข้างเข้าข้าง ETH โปรดใช้วิจารณญานในการอ่าน

การขุดบิทคอยน์ หาเงินออนไลน์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์

3
การขุดบิทคอยน์คืออะไร
การขุดบิทคอยน์คืออะไร

ท่ามกลางกระแส การขุดบิทคอยน์ และสกุลเงินดิจิตอลอื่น ๆ ที่มาแรงมากในปี 2017 นี้ ถ้าพูดถึงประเทศไทยเองเริ่มตื่นตัว และเป็นกระแสในวงกว้างสำหรับผู้ใช้งานทั่ว ๆ ไปราว ๆ เดือน พฤษภาคม (2017) นี่เอง สิ่งที่ทำให้เป็นกระแสขึ้นมา คงหนีไม่พ้นมูลค่าของเงินบิทคอยน์ที่กระโดดขึ้นไปแตะ 100,000 บาท ต่อ 1 บิทคอยน์ ซึ่งมูลค่าที่มากขึ้นนี่เอง ทำให้วงการการขุดบิทคอยน์คึกคักขึ้นมา การ์ดจอที่ใช้สำหรับเล่นเกมส์ ขาดตลาดอย่างรุนแรง ซึ่งไม่ได้เป็นเฉพาะในประเทศไทยเราอย่างเดียว แต่เกิดขึ้นทั่วโลก

แล้วรู้มั้ยเค้าเอาไปทำอะไรกัน?

การขุดบิทคอยน์ หรือสกุลเงินดิจิตอลอื่น ๆ นั้น สรุปง่าย ๆ ก็คือการเข้าไปยืนยันรายการโอนเงินไปมาของสกุลเงินตัวนี้ ว่าเป็นรายการที่ถูกต้องจริง ๆ นะ แล้วใครที่เข้าไปยืนยันได้ ก็จะได้รับค่าตอบแทนกลับมา ซึ่งมันก็เหมือนค่าธรรมเนียมในการโอนเงินทั่วไป ทีนี้ตัวบิทคอยน์และสกุลเงินเหล่านี้ มันถูกสร้างขึ้นมาโดยใช้สมการทางคณิตศาสตร์อันซับซ้อนมาก ๆ (เพื่อให้สกุลเงินมีความน่าเชื่อถือ) ซึ่งสมการตรงนี้ถ้าจะเข้าไปแก้ไขได้ ต้องใช้ CPU ที่ออกแบบมาเฉพาะเพื่อการนี้ แต่ว่าด้วยราคาที่มันยังสูงเฉียดฟ้าอยู่ และไม่ได้หาซื้อง่าย ๆ นั้น สิ่งใกล้ตัวพวกเราที่สุดก็คือ ตัวประมวลผลที่ติดตั้งอยู่บนการ์ดจอเรานั่นเอง

Where Curiosity Meets Creativity

การ์ดจอนั้นจะประกอบด้วย GPU (Graphics Processing Unit) ซึ่งออกแบบมาสำหรับประมวลผลเกมส์ให้ภาพออกมาสวยงามที่สุด ซึ่งเกมส์นั่นเองก็ใช้สมการทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนเหมือนกัน ด้วยเหตุนี้นี่แหละครับ ทำให้การ์ดจอเหล่านี้ สามารถนำมาใช้งานในการขุดบิทคอยน์และสกุลเงินดิจิตอลอื่น ๆ ได้

เริ่มขุดบิทคอยน์อย่างไร?

บทความนี้ก็จะสอนการขุดแบบง่าย ๆ สำหรับคนที่อยากลอง หรือมีเครื่องที่มีการ์ดจอแรง ๆ อยู่แล้ว ลองทำตามขั้นตอนที่จะเขียนต่อไปนี้ และลองคำนวณความคุ้มค่าคุ้มราคา กันดู เพราะเบื้องหลังทางเทคนิคแล้วมันมีตัวแปรสำคัญหลายอย่างมาก ลองอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บทความนี้ การลงทุนในการทำ Bitcoin Mining แท้จริงแล้วคืออะไร แตกต่างจากการลงทุนในด้านอื่น ๆ อย่างไร อธิบายจนหมดเปลือก!

Where Curiosity Meets Creativity

สิ่งที่ต้องมีก่อนเริ่ม

  • บัญชีบิทคอยน์
  • คอมพิวเตอร์ ที่มีการ์ดจอดี ๆ หน่อย (แต่ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร เราสามารถทำตามได้ เพื่อให้เห็นขั้นตอนการทำตามของมัน)

ขั้นตอนการขุดบิทคอยน์

ไปที่เว็บไซต์ https://www.nicehash.com/?p=nhmintro แล้วเลือกดาวน์โหลดโปรแกรมที่จะใช้สำหรับการขุดก่อน

หาเงินออนไลน์ด้วยบิทคอยน์

หาเงินออนไลน์ด้วยบิทคอยน์

หาเงินออนไลน์ด้วยบิทคอยน์

เมื่อดาวน์โหลดมาแล้ว จะได้เป็นไฟล์ Zip ให้ทำการแตกไฟล์ออกมาแล้วคลิกที่ NiceHashMiner.exe

หาเงินออนไลน์ด้วยบิทคอยน์

ถ้าหากว่าเครื่องเรายังไม่ได้ติดตั้งพวกซอฟต์แวร์ที่ต้องการใช้งาน โปรแกรมขุดบิทคอยน์จะทำการดาวน์โหลดให้เองอัตโนมัติ ให้ทำตามขั้นตอนไปจนเสร็จ

หาเงินออนไลน์ด้วยบิทคอยน์

หาเงินออนไลน์ด้วยบิทคอยน์

หาเงินออนไลน์ด้วยบิทคอยน์

เสร็จแล้วกดยอมรับการใช้งานโปรแกรมกันหน่อยคลิกที่ “I accept the Terms Of Use” แล้วกด OK

หาเงินออนไลน์ด้วยบิทคอยน์

เข้ามาก็จะมีคำเตือนการใช้งานโปรแกรมอีกรอบครับ กด I agree

หาเงินออนไลน์ด้วยบิทคอยน์

โปรแกรมจะทำการโหลดข้อมูลที่จำเป็นให้อีกครั้งหนึ่ง เวลาและความเร็วก็ขึ้นอยู่กับอินเตอร์เน็ตของเราด้วยนะ เพราะขนาดไฟล์ก็ร้อยกว่าเมก

หาเงินออนไลน์ด้วยบิทคอยน์

เมื่อโหลดเสร็จแล้ว ให้เราเอาหมายเลขกระเป๋าบิทคอยน์ที่เรามีใส่ในช่อง Bitcoin Address:

หาเงินออนไลน์ด้วยบิทคอยน์

เมื่อพร้อมแล้วขั้นตอนถัดไปเราต้องกด Benchmark ก่อน เพื่อที่โปรแกรมมันจะตรวจสอบและคำนวณให้ว่าอุปกรณ์ที่เรามีตอนนี้นั้น เหมาะสำหรับขุดเหรียญอะไรที่ทำให้ได้เงินมากที่สุด แต่ถ้ายังไม่ได้ Benchmark มันจะขึ้นกรอบเตือนแบบข้างล่างนี้ ให้กด ปุ่ม Yes เพื่อทำการ Benchmark ก่อนครับ

หาเงินออนไลน์ด้วยบิทคอยน์

สำหรับขั้นตอน Benchmark หลังจากกดปุ่ม Start แล้วก็จะใช้เวลาราว ๆ 30 นาที – 1 ชั่วโมง

หาเงินออนไลน์ด้วยบิทคอยน์

เมื่อพร้อมแล้วกด Start เพื่อเริ่มทำการขุดเงินกันเลย จากภาพด้านล่างจะเห็นว่าโปรแกรมคำนวณให้เครื่องของผมเนี่ยขุดเหรียญ Zcoin ซึ่งขุดได้ที่ความเร็วประมาณ 2xx H/s

หาเงินออนไลน์ด้วยบิทคอยน์

กลับมาที่หน้าจอหลัก โปรแกรมก็จะสรุปให้คร่าว ๆ ว่าความเร็วของเครื่องเราตอนนี้ ถ้าปล่อยขุดไว้ตลอด 24 ชั่วโมง จะได้เงินเท่าไหร่ ตามกรอบที่วงไว้ เครื่องผมก็จะได้เงินประมาณวันละ 75 บาท 1 เดือนถ้าเปิดทิ้งไว้ตลอด ก็ได้ราว ๆ 2,250 บาท

หาเงินออนไลน์ด้วยบิทคอยน์

สรุป

ไม่ยากเลยนะสำหรับการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับขุดเงิน ซึ่งมันได้จริง ๆ แต่ด้วยกระแสที่มันมาเร็วมาก ก็อยากจะเตือนมือใหม่ทั้งหลายศึกษาข้อมูลกันดี ๆ เพราะมันมีเนื้อหาทางด้านเทคนิคอีกหลายอย่างที่จะต้องเรียนรู้ มันไม่ได้มาง่าย ๆ อย่างที่คิดหรอกนะ ไว้เจอกันใหม่ … รักนะจุ๊บ จุ๊บ

Ethereum คืออะไร

0
ethereum น้ำมันในโลกดิจิตอล
ethereum น้ำมันในโลกดิจิตอล

Ethereum เป็นแพลตฟอร์มแบบเปิดของ Blockchain ที่ทำให้ทุกคนสามารถสร้างและใช้งานแอปพลิเคชันแบบกระจายข้อมูล (decentralized) ซึ่งทำงานบนเทคโนโลยี Blockchain ได้ Ethereum มีความคล้าย Bitcoin ตรงที่ไม่มีใครสามารถควบคุมหรือเป็นเจ้าของ Ethereum ได้ เนื่องจาก Ethereum เป็นโครงการแบบโอเพนซอร์ส (open-source project) ที่สร้างขึ้นโดยผู้คนเป็นจำนวนมากจากทั่วโลก แต่ Ethereum มีความแตกต่างจากโปรโตคอล Bitcoin เนื่องจาก Ethereum ถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถปรับตัวได้และมีความยืดหยุ่น การสร้างแอ็พพลิเคชันใหม่ ๆ บนแพลตฟอร์ม Ethereum เป็นเรื่องง่าย และการเปิดตัว Homestead ก็ทำให้ทุกคนสามารถใช้งานแอปพลิเคชันเหล่านี้ได้อย่างปลอดภัย

Blockchain รุ่นต่อไป

เทคโนโลยี Blockchain เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานของ Bitcoin ซึ่งผู้เขียนชื่อ Satoshi Nakamoto ได้การอธิบายรายละเอียดในงานเขียนของเขาว่า “Bitcoin: ระบบเงินอิเล็กทรอนิกส์แบบ Peer-to-Peer”  ซึ่งตีพิมพ์ในปี 2551 ในระยะเวลาไม่กี่ปีต่อมา เทคโนโลยี Blockchain ก็พัฒนาขึ้นตามคำนิยามโดยทั่วไปนี้ Blockchain เป็นสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์แบบกระจายข้อมูล ซึ่งทุกโหนดเครือข่าย (network node) จะประมวลผลและบันทึกธุรกรรมแบบเดียวกันโดยจัดกลุ่มข้อมูลเหล่านั้นให้เป็นบล็อก (block) โดยสามารถเพิ่มบล็อกได้ครั้งละหนึ่งบล็อก และทุกบล็อกจะมีพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์เพื่อยืนยันว่าบล็อกมีลำดับสอดคล้องกับบล็อกก่อนหน้านี้

ด้วยเหตุนี้ “ฐานข้อมูลแบบกระจาย (distributed database)” ของ Blockchain จะถูกบันทึกในระบบความสัมพันธ์ร่วมกันจากทั้งเครือข่าย การปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้ใช้แต่ละรายด้วยบัญชีแยกประเภท (ธุรกรรม) มีความปลอดภัยจากการเข้ารหัสที่แข็งแกร่ง โหนดที่ดูแลรักษาและตรวจสอบเครือข่ายนั้นได้รับการกระตุ้นจากแรงจูงใจทางเศรษฐกิจ (economic incentives) ตามหลักคณิตศาสตร์ที่เขียนไว้ในโปรโตคอล

ในกรณีของ Bitcoin ระบบฐานข้อมูลแบบกระจายจะถูกทำเป็นตารางบัญชียอดคงเหลือ บัญชีแยกประเภท (ledger) และการทำธุรกรรม ผ่านการโอนเหรียญ Bitcoin เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเงินระหว่างบุคคล แต่เนื่องจาก Bitcoin เริ่มเป็นที่ดึงดูดความสนใจต่อนักพัฒนาซอฟต์แวร์และผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีมากขึ้น โครงการใหม่ต่าง ๆ จึงเริ่มใช้เครือข่าย Bitcoin เพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือจากการโอนเหรียญที่มีมูลค่าเหล่านี้

Where Curiosity Meets Creativity

ซึ่งโครงการหลายโครงการใช้รูปแบบของ “alt coins” ซึ่งแยก Blockchain ออกจากสกุลเงินดิจิตอลของมัน ซึ่งได้ถูกพัฒนาปรับปรุงในโปรโตคอล Bitcoin เดิม เพื่อเพิ่มคุณสมบัติหรือความสามารถใหม่ ๆ ในช่วงปลายปี 2013 Vitalik Buterin ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์ Ethereum เสนอ Blockchain เดี่ยวที่สามารถปรับโครงสร้างเพื่อดำเนินการคำนวณที่ซับซ้อนได้เอง อาจรวมเอาโครงการอื่น ๆ เหล่านี้เข้าด้วยกัน

ในปี 2014 Vitalik Buterin, Gavin Wood และ Jeffrey Wilcke ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์ Ethereum ได้เริ่มทำงานในโครงการ Blockchain ยุคใหม่ โดยมีความตั้งใจแรงกล้าที่จะใช้เป็นแพลตฟอร์มในการทำสัญญา ต่าง ๆ แบบอัจฉริยะซึ่งมีระดับปลอดภัยสูงสุดและใช้งานได้โดยทั่วไป

ระบบปฏิบัติการเสมือนจริงของ Ethereum

  • Ethereum เป็น Blockchain ที่เขียนชุดคำสั่งได้ ซึ่งแทนที่จะให้ผู้ใช้ชุดปฏิบัติการที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว (pre-defined operations) (เช่น ธุรกรรมเกี่ยวกับ Bitcoin) Ethereum กลับช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างปฏิบัติการให้มีความซับซ้อนตามที่ผู้ใช้ต้องการได้ ด้วยวิธีนี้ Ethereum จะทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มสำหรับแอปพลิเคชัน Blockchain ที่มีรูปแบบหลากหลาย ซึ่งสามารถใช้สกุลเงินดิจิตอลได้อย่างไม่จำกัด
  • Ethereum ในความหมายอย่างแคบ (narrow sense) หมายถึงชุดของโปรโตคอลที่กำหนดแพลตฟอร์มสำหรับแอปพลิเคชันแบบกระจายข้อมูล หัวใจสำคัญของมันคือ Ethereum Virtual Machine (“EVM”) ซึ่งสามารถประมวลผลซึ่งมีอัลกอริทึมที่ซับซ้อนได้เอง ในแง่ของวิทยาการคอมพิวเตอร์ Ethereum นั้นอยู่ในระดับ “Turing complete” (แก้ปัญหาได้เทียบเท่าเครื่องคอมพิวเตอร์) นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถสร้างแอปพลิเคชันที่ทำงานบน EVM โดยใช้ภาษาโปรแกรมที่รองรับได้ซึ่งมีตัวแบบเป็นภาษาที่มีอยู่ เช่น JavaScript และ Python
  • Ethereum ยังมีโปรโตคอลเครือข่ายแบบ peer-to-peer เช่นเดียวกับ Blockchain ทั้งนี้ ฐานข้อมูล Blockchain ของ Ethereum ถูกเก็บรักษาและพัฒนาปรับปรุงโดยโหนดหลายโหนดที่เชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย โหนดแต่ละโหนดในเครือข่ายจะเรียกใช้ EVM และใช้คำสั่งเดียวกัน ด้วยเหตุผลนี้ Ethereum จึงถูกอธิบายว่าเป็น “คอมพิวเตอร์ระดับโลก (world computer)”

การประมวลผลขนานขนาดใหญ่ในเครือข่าย Ethereum ไม่ได้ทำให้การคำนวณมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะในความเป็นจริงแล้วขั้นดังกล่าวทำให้การคำนวณบน Ethereum ช้าลงและมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการคำนวณบน “คอมพิวเตอร์” แบบดั้งเดิม ดังนั้น โหนด Ethereum ทุกโหนดจะประมวลผลโดยใช้ EVM เพื่อรักษาระดับความความสัมพันธ์ระหว่าง Blockchain ทั้งนี้ การกระจายข้อมูลจะช่วยให้ Ethereum สามารถทนข้อบกพร่องต่าง ๆ ในระดับรุนแรงได้ (extreme levels of fault tolerance) ทำให้มั่นใจได้ว่าไม่มีการหยุดทำงานของระบบ (ensures zero downtime) และทำให้ข้อมูลที่เก็บอยู่ใน Blockchain ไม่เปลี่ยนแปลงและสามารถกันการดักจับต่าง ๆ ได้ (censorship-resistant) ตลอดไป

ตัวของแพลตฟอร์ม Ethereum เองนั้น เป็นสิ่งที่ไม่มีคุณลักษณะพิเศษใด ๆ (featureless) หรือไม่มีมูลค่า (value-agnostic) เช่นเดียวกับภาษาโปรแกรม (programming languages) ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการและนักพัฒนาจะตัดสินใจว่าควรจะใช้ภาษานั้นสำหรับทำอะไร อย่างไรก็ตาม เห็นได้ชัดว่าแอปพลิเคชันบางประเภทใช้ประโยชน์จากความสามารถของ Ethereum มากกว่าแอพลิเคชันอื่น

ซึ่ง Ethereum นั้นเหมาะอย่างยิ่งสำหรับแอปพลิเคชันที่ก่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ทางตรงโดยอัตโนมัติระหว่างผู้ใช้ด้วยกัน หรืออำนวยความสะดวกในการประสานงานของกลุ่มต่าง ๆ ในเครือข่าย Ethereum ตัวอย่างเช่น แอปพลิเคชันสำหรับการประสานงานในตลาดซื้อขายแบบ peer-to-peer (peer-to-peer marketplaces) หรือระบบอัตโนมัติเพื่อทำสัญญาทางการเงินที่ไม่ซับซ้อน Bitcoin ช่วยให้บุคคลสามารถแลกเปลี่ยนเงินตราได้โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง เช่น สถาบันการเงิน ธนาคาร หรือรัฐบาล ซึ่งเครือข่าย Ethereum อาจส่งผลกระทบแผ่ขยายออกไปได้มาก

โดยในทางทฤษฎีแล้วการปฏิสัมพันธ์ด้านการเงินหรือการซื้อขายแลกเปลี่ยนที่มีความซับซ้อนก็สามารถทำได้โดยอัตโนมัติและมีความน่าเชื่อถือผ่านการใช้รหัสที่ประมวลผลบน Ethereum นอกเหนือจากการเป็นแอปพลิเคชันทางการเงินแล้ว การดำเนินงาน อาทิ การลงทะเบียนสินทรัพย์ (asset-registries) การลงคะแนน (votin) การกำกับดูแล (governance) และการเชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของสิ่งต่าง ๆ (internet of things) อาจได้รับอิทธิพลจากอย่างมากจากแพลตฟอร์ม Ethereum เนื่องจากการดำเนินการเหล่านี้ที่เน้นความสำคัญของปัจจัยแวดล้อมซึ่งมีความน่าเชื่อถือ (trust) ความปลอดภัย (security) และความคงที่ (permanence)

Ethereum ทำงานอย่างไร?

Ethereum นั้นรวบรวมคุณลักษณะและเทคโนโลยีมากมายที่ผู้ใช้ Bitcoin คุ้นเคย ในขณะเดียวกันก็มีการปรับปรุงคุณสมบัติและมีนวัตกรรมมากมายเป็นของตนเอง

ในขณะที่ Blockchain ของ Bitcoin เป็นรายการการทำธุรกรรมอย่างแท้จริง (list of transactions) โดยเป็นหน่วยพื้นฐานของ Ethereum คือบัญชี (account) ซึ่ง Blockchain ของ Ethereum จะติดตามสถานะของทุกบัญชี และการเปลี่ยนสถานะของบัญชีบน Blockchain ของ Ethereum จะเป็นการโอนค่าและข้อมูลระหว่างบัญชี ซึ่งแบ่งประเภทของบัญชีได้ 2 ประเภท ได้แก่

  • บัญชีที่มีเจ้าของจากภายนอก (Externally Owned Accounts, EOAs) ซึ่งถูกควบคุมโดยกุญแจส่วนตัว (private key)
  • บัญชีสัญญา (Contract Accounts) ซึ่งควบคุมโดยรหัสสัญญา (contract code) และสามารถใช้งานได้ (activate) โดย EOA เท่านั้น

สำหรับผู้ใช้ส่วนใหญ่ ความแตกต่างพื้นฐานระหว่างสองบัญชีนี้คือ ผู้ใช้ซึ่งเป็นมนุษย์ (human users) จะเป็นผู้ควบคุม EOA เนื่องจากผู้ใช้เหล่านี้เป็นผู้ควบคุมกุญแจส่วนตัวซึ่งควบคุม EOA อยู่ ในทางตรงกันข้าม บัญชีสัญญา (Contract Accounts) จะถูกควบคุมโดยรหัสภายในบัญชีนั้น หากจะกล่าวว่าบัญชีสัญญาถูก “ควบคุม” โดยผู้ใช้ที่เป็นมนุษย์ ก็สามารถอธิบายได้ในแง่ที่ว่าบัญชีสัญญาเหล่านี้ได้รับการกำหนดชุดคำสั่งให้ถูกควบคุมโดย EOA ซึ่ง EOA นั้นก็ถูกควบคุมโดยใครก็ตามที่ถือกุญแจส่วนตัวซึ่งควบคุม EOA ไว้อีกที คำว่า “สัญญาอัจฉริยะ (smart contracts)” หมายถึง รหัสในบัญชีสัญญา ซึ่งเป็นโปรแกรมที่จะดำเนินการเมื่อมีการส่งธุรกรรมไปยังบัญชีนั้น ทั้งนี้ ผู้ใช้สามารถสร้างสัญญาใหม่ได้ด้วยการปรับรหัสที่ Blockchain

บัญชีสัญญาจะมีการดำเนินงานเฉพาะเมื่อได้รับคำสั่งให้ดำเนินงานจาก EOA เท่านั้น ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่บัญชีสัญญาจะดำเนินการด้วยตัวเอง เช่น การสร้างหมายเลขแบบสุ่มหรือชุดคำสั่ง API  ซึ่งบัญชีสัญญาจะทำเช่นนั้นได้ในกรณีที่ได้รับคำสั่งจาก EOA เท่านั้น เนื่องจาก Ethereum ต้องการให้โหนดมีความสอดคล้องกันในผลลัพธ์จากการคำนวณ ซึ่งจำเป็นต้องรับประกันให้เกิดการดำเนินการตามที่กำหนดอย่างเคร่งครัด

ผู้ใช้จะต้องเสียค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมจำนวนเล็กน้อยให้แก่เครือข่าย Ethereum เช่นเดียวกับ Bitcoin ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ Blockchain ของ Ethereum ประมวลผลสิ่งไม่สำคัญหรือป้องกันระบบจากการประสงค์ร้าย เช่น การโจมตีแบบ Distributed Denial of Service (DDoS) เพื่อให้ระบบหยุดการทำงาน หรือเกิดลูปแบบไม่สิ้นสุด ผู้ส่งธุรกรรมจะต้องจ่ายเงินสำหรับขั้นตอนแต่ละขั้นตอนของ “โปรแกรม” ที่ใช้งาน รวมถึงการคำนวณและการจัดเก็บหน่วยความจำ ค่าธรรมเนียมเหล่านี้จะต้องจ่ายเป็นเงิน Ether ซึ่งเป็นสกุลเงินหลักของ Ethereum

ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมเหล่านี้จะถูกเก็บรวบรวมโดยโหนดที่ตรวจสอบความถูกต้องของเครือข่าย โดย “miner” ซึ่งเป็นโหนดในเครือข่าย Ethereum จะได้รับข้อมูล ขยาย พิสูจน์ และประมวลผลธุรกรรม หลังจากนั้นก็จัดกลุ่มการทำธุรกรรม รวมถึงปรับปรุง “สถานะ” จำนวนมากของบัญชีต่าง ๆ ใน Blockchain ของ Ethereum  หรือสร้างบล็อก (block) และ miner ต่างก็แข่งขันกันกันสร้างบล็อกเพิ่มเข้าไปใน Blockchain โดย miner ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างบล็อกจะได้รับรางวัลเป็นเงิน Ether ซึ่งถือว่าเป็นแรงจูงใจทางเศรษฐกิจเพื่อกระตุ้นให้คนใช้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ของตนและใช้กระแสไฟเพื่อการดำเนินงานในเครือข่าย Ethereum

miner จะรับหน้าที่แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนเพื่อที่จะสร้างบล็อกให้สำเร็จเช่นเดียวกับในเครือข่าย Bitcoin ซึ่งเรียกกลไกนี้ว่า “Proof of Work” การแก้ปัญหาด้านการประมวลผลที่ต้องใช้ทรัพยากรในปริมาณที่มากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเชิงอัลกอริทึมที่มากกว่าปกตินั้นถือว่าเป็นการแข่งขันที่ดีในกลไก Proof of Work ทั้งนี้ Ethereum ได้เลือกใช้ขั้นตอนการคำนวณที่ใช้ฮาร์ดดิสก์อย่างหนักเพื่อการกีดกันการรวมศูนย์ข้อมูลจากการใช้ฮาร์ดแวร์เฉพาะ (เช่น ASIC) อย่างที่เคยเกิดขึ้นในเครือข่าย Bitcoin ซี่งในความเป็นจริงถ้าการคำนวณดังกล่าวต้องใช้หน่วยการประมวลผลแบบ CPU แล้ว ฮาร์ดแวร์ที่เหมาะสมที่สุดก็คือคอมพิวเตอร์แบบทั่วไป ซึ่งทำให้กลไก Proof of Work ของ Ethereum สามารถกันการใช้ ASIC (ASIC-resistant) โดยสามารถกระจายความปลอดภัยได้มากกว่า Blockchain ที่มีการทำเหมืองข้อมูลผ่านฮาร์ดแวร์เฉพาะทาง (specialized hardware) ดังเช่นในเครือข่าย Bitcoin

รู้จักกับ Monero (XMR)

0
Monero

Monero (XMR) เป็นสกุลเงินดิจิตอลระบบเปิด (open-source cryptocurrency) ที่สร้างขึ้นเมื่อเดือนเมษายน 2014 โดยให้ความสำคัญกับเรื่องความเป็นส่วนตัว (privacy) การกระจายข้อมูล (decentralization) และความยืดหยุ่น (scalability) ซึ่งแตกต่างจากสกุลเงินดิจิตอลจำนวนมากที่เป็นอนุพันธ์ของ Bitcoin

ทั้งนี้ Monero ใช้โปรโตคอล CryptoNote ซึ่งมีความแตกต่างด้านอัลกอริทึมเพื่อสร้าง Blockchain ที่ซับซ้อน ทั้งนี้ โครงสร้างแบบโมดูลของ Monero ได้รับการยกย่องจาก Wladimir J. van der Laan ซึ่งเป็นผู้ดูแลระบบจาก Bitcoin Core และ Monero มีการเติบโตอย่างรวดเร็วด้านมูลค่าตลาด (จาก 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐถึง 185 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) รวมถึงจำนวนการทำธุรกรรมในปี 2016 ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการที่ Alpha Bay นำระบบดังกล่าวมาใช้ในช่วงปลายฤดูร้อนปี 2016 โดยในปี 2017 Monero ก็ขึ้นมาเป็นสกุลเงินดิจิตอลที่มีซื้อขายกันมากที่สุดเป็นอันดับที่ 6 โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงกว่า 600,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Monero

ความเป็นมา (History)

Monero เปิดตัวเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2014 ภายใต้ชื่อ BitMonero ซึ่งเป็นการผสมคำว่า Bit (เช่นที่ใช้ในคำว่า Bitcoin) และ Monero (แปลว่า “เหรียญ” ในภาษาเอสโตเนีย) ซึ่งในระยะเวลา 5 วันต่อมา ชุมชนผู้ใช้สกุลเงินดังกล่าวก็ได้เรียกชื่อสกุลเงินนี้ให้สั้นลงโดยเหลือเพียงคำว่า Monero ซึ่ง Monero  ถูกเปิดตัวในฐานะการแตกสาขา (fork) ของ Bytecoin ที่ใช้โปรโตคอล CryptoNote แต่ Monero ถูกปล่อยตัวออกมาพร้อมข้อแตกต่างที่สำคัญ 2 ประการ

  • ประการแรก เป้าหมายของการสร้างบล็อกลดลงจากระยะเวลา 120 เป็น 60 วินาที
  • ประการที่สอง ความเร็วในการปล่อย XMR ลดลง 50% (ภายหลัง Monero ได้กลับไปใช้เป้าหมายในการสร้างบล็อกที่ระยะเวลา 120 วินาที พร้อมรักษาจังหวะในการปล่อย XMR โดยเพิ่มการปล่อย XMR เป็นสองเท่าต่อบล็อกใหม่หนึ่งบล็อก) นอกจากนั้น นักพัฒนา Monero พบว่ามีปัญหาจำนวนมากเกิดขึ้นจากรหัสที่ด้อยคุณภาพ แต่ในระยะเวลาต่อมาก็มีการลบรหัสนั้นและสร้างรหัสขึ้นขึ้นมาใหม่

ในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์หลังจากการเปิดตัว Monero กลไก Proof of Work (PoW) ของ CryptoNight ซึ่งใช้หน่วยประมวลผลกราฟฟิก (GPU) ก็ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาสำหรับ Miner

เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2014 Monero ก็สามารถฟื้นตัวจากการโจมตีที่มีความผิดปกติและแปลกใหม่ผ่านเครือข่ายระบบเงินดิจิตอล

เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2017 มีการเพิ่มระดับความเป็นส่วนตัวในการทำธุรกรรมผ่าน Monero ให้สูงขึ้นด้วยการใช้ฟีเจอร์ Ring Confidential Transactions (RingCT) ของ Gregory Maxwell ซึ่งเป็นนักพัฒนาของ Bitcoin Core โดยเริ่มต้นด้วยบล็อก #1220516 ทั้งนี้ มีการใช้ลายเซ็นวงแหวนเพื่อเพิ่มระดับชั้นการรักษาความลับโดยซ่อนปริมาณการทำธุรกรรมเพื่อไม่ให้บุคคลที่ไม่มีส่วนร่วมโดยตรงเห็น การใช้ RingCT ในการทำธุรกรรมถูกกำหนดเป็นค่าเริ่มต้น (default) อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ยังคงสามารถส่งธุรกรรมได้แม้ไม่ใช้ RingCT ก็ตามจนกว่าจะมีการแตกสาขาแบบ hard fork ในเดือนกันยายนปี 2017 ทั้งนี้ เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ พบว่า 95% ของการทำธุรกรรมที่ไม่ผ่าน coinbase นั้นใช้ RingCT

ลักษณะเด่น (Feature)

Monero เป็นสกุลเงินดิจิตอลที่มีกลไก Proof of Work ระบบเปิด (open-source cryptocurrency) ซึ่งสามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการ Windows, Mac, Linux และ FreeBSD

Monero จะมีการปล่อย XMR ตลอดเส้นโค้งอยู่ที่ประมาณ 18.4 ล้านเหรียญสำหรับการขุดเงินในเวลาประมาณ 8 ปี (กล่าวโดยละเอียดคือจะมีการปล่อย XMR อยู่ที่ 18.132 ล้านเหรียญโดยประมาณในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมปี 2022) หลังจากนั้น “การปล่อย XMR ช่วงท้าย” จะคงตัวอยู่ที่ 0.6 XMR ต่อการสร้างบล็อกระยะเวลา 2 นาที (มีการปรับเปลี่ยนระยะแรกซึ่งอยู่ที่ 0.3 XMR ต่อบล็อกระยะเวลา 1 นาที) ซึ่งจะสร้างอัตราเงินเฟ้อต่อเนื่องที่ -1% (ซึ่งเริ่มจากอัตราเงินเฟ้อ 0.87% ต่อปีในเดือนพฤษภาคมปี 2022) เพื่อป้องกันการขาดแรงจูงใจของ Miner

เมื่อสกุลเงินดังกล่าวไม่สามารถทำการขุดได้อีกต่อไป การปล่อย XMR จะค่อย ๆ ลดลง โดยไม่มีตัดแบ่งบล็อก (บล็อกใด ๆ ที่ก่อให้เกิด XMR น้อยกว่า XMR ก่อนหน้านี้ โดยใช้สูตร: การปล่อย XMR ต่อ บล็อกระยะเวลา 2 นาที = max (0.6, floor ((M – A) × 2-19) × 10-12) XMR, โดยที่ M = 264 – 1 และ A = 1012 เท่าของปริมาณ XMR ที่ปล่อยออกมาแล้ว) หน่วยของเงินที่น้อยสุดที่สามารถใช้ได้คือ 10-12 XMR โครงสร้างกลไก Proof of Work ของ CryptoNight ที่เน้นการเข้ารหัสลับแบบ AES (Advanced Encryption Standard) และใช้หน่วยความจำเยอะมากนั้นจะเป็นการลดทอนข้อได้เปรียบของหน่วยประมวลผลกราฟฟิก (GPU) เมื่อเปรียบเทียบกับหน่วยประมวลผลกลาง (CPU)

ความเป็นส่วนตัว (Privacy)

Monero มีวิธีการปกป้องความเป็นส่วนตัว 3 วิธี สำหรับการทำธุรกรรมทั้งหมดบนเครือข่าย ได้แก่

  1. ลายเซ็นวงแหวน (ring signatures) เพื่อซ่อนแอดเดรสที่ทำการส่งข้อมูล
  2. Ring Confidential Transactions (RingCT) เพื่อซ้อนปริมาณการทำธุรกรรม (ปัจจุบัน RingCT ถูกใช้เป็นค่าเริ่มต้นและจะมีการบังคับใช้ RingCT ตั้งแต่สิ้นปี 2017 เป็นต้นไป)
  3. แอดเดรสลับ (Stealth addresses) เพื่อซ่อนแอดเดรสที่ทำการรับธุรกรรม

ทั้งนี้ Monero อยู่ในระหว่างการพัฒนาวิธีการป้องกันที่สี่ ซึ่งวางแผนไว้เพื่อปกปิดโหนดต้นทาง (origin node) สำหรับการทำธุรกรรมใน I2P และ Kovri router ทั้งนี้ เนื้อหาในย่อหน้าต่อไปนี้จะกล่าวถึงเทคโนโลยีทั้ง 3 ข้อนี้อย่างละเอียดมากขึ้น

ดีมอนของ Monero นั้นใช้โปรโตคอล CryptoNote เดิม ยกเว้นในส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงในระยะแรก (เช่น ระยะเวลาบล็อกและความเร็วในการปล่อย XMR) สำหรับตัวโปรโตคอลเองนั้นจะใช้ “ลายเซ็นวงแหวนแบบใช้ครั้งเดียว (one-time ring signatures)” และใช้แอดเดรสลับ (stealth addresses) ทั้งนี้ การเข้ารหัสลับพื้นฐานนั้นมาจากไลบรารีของ Daniel J. Bernstein ซึ่งรองรับ Ed25519 โดยใช้ลายเซ็น ชนอรร์ (Schnorr signatures) บนเส้นโค้งบิด Twisted Edwards curve ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คืออัลกอริทึมที่ผ่านการทดสอบอย่างหนักและมีการผสมผสานกันระหว่างคุณสมบัติด้านการกระจายข้อมูล (decentralized) และบทบาทเชิงรับ (passive) เพื่อเตรียมวิธีการเข้าถึงข้อมูลมีประสิทธิภาพให้ผู้ใช้

อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัย Monero มีข้อเสนอเพื่อพัฒนาปรับปรุง Monero ในหลายประการ ซึ่งครอบคลุมการใช้ลายเซ็นวงแหวนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่มเพิ่มคุณภาพด้านความเป็นส่วนตัวให้มากขึ้น ซึ่งข้อเสนอนี้รวมไปถึง “นโยบายแบบผสมผสานทั่วเครือข่ายในระดับโปรโตคอลของตัวส่งออก n = 2 ต่อหนึ่งลายเซ็นวงแหวน (a protocol-level network-wide minimum mix-in policy of n = 2 foreign outputs per ring signature)” และ “วิธีการคัดเลือกตัวส่งออกจากข้อมูลทำธุรกรรมที่มีรูปแบบไม่สม่ำเสมอเพื่อสร้างวงแหวน (a nonuniform transaction output selection method for ring generation)” และ “วิธีการส่งออกข้อมูล Monero แบบ torrent (a torrent-style method of sending Monero output)” ผู้วิจัยระบุว่า การเปลี่ยนแปลง
ต่าง ๆ เหล่านี้ถูกใช้ใน “Hydrogen Helix” เวอร์ชั่น 0.9.0 ซึ่งช่วยปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้สกุลเงินกลุ่มที่ใช้โปรโตคอล CryptoNote (CryptoNote-based currency)

ผลที่ตามมาคือ Monero มีฟีเจอร์ Blockchain แบบทึบ (Opaque Blockchain) (พร้อม viewkey ซึ่งเป็นระบบการยินยอมให้เปิดเผย) ในทางตรงกันข้ามกับ Blockchain แบบโปร่งใส (Transparent Blockchain) จะใช้ในสกุลเงินอื่น ๆ ที่ใช้โปรโตคอล CryptoNote ดังนั้น Monero จึงถือได้ว่า “มีความเป็นส่วนตัวและโปร่งใสแบบทางเลือก (private, optionally transparent)”  ระบบนี้กำหนดความเป็นส่วนตัวที่เข้มงวดเป็นค่าเริ่มต้น (default) เช่น ระบบใช้ความเป็นกลางสุทธิ (net neutrality) สำหรับ Blockchain (ซึ่ง Miner ไม่สามารถกลายเป็นผู้ดักจับข้อมูลได้  เนื่องจากพวกเขาไม่ทราบว่าการทำธุรกรรมแต่ละธุรกรรมจะไปยังที่ใด และธุรกรรมดังกล่าวประกอบด้วยอะไรบ้าง) ในขณะที่ระบบยังคงอนุญาตให้สามารถทำการตรวจสอบเมื่อต้องการได้ (เช่น การตรวจสอบภาษี หรือการแสดงผลทางการเงินต่อสาธารณะของ NGO) นอกจากนี้ Monero ยังได้รับการยอมรับจากผู้ใช้หลายคนว่า เป็นสกุลเงินที่สามารถแลกเปลี่ยนได้อย่างแท้จริง

ในเดือนเมษายนปี 2017 งานวิจัยหลายฉบับได้วิพากษ์วิจารณ์วิธีการเลือกตัวป้อนเข้า (input) โดยการถกเถียงกันว่า วิธีการในปัจจุบันนี้ทำให้ง่ายต่อการเดาข้อมูลการทำธุรกรรมจริง ทั้งนี้ปี 2017 ข้อคิดเห็นของชุมชนผู้ใช้ Monero กำลังถูกนำมาใช้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างการเลือกข้อมูลเพื่อให้เกิดการใช้งานจริงที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

นักพัฒนา Monero มีการทำงานโดยใช้ C ++ I2P router ในการเขียนรหัสด้วย ซึ่งจะทำให้เกิดห่วงโซ่ความเป็นส่วนตัว (privacy chain) ที่มีการซ่อน IP addresses

Monero

การกระจายข้อมูล (Decentralisation)

Monero นั้นมีความเข้มแข็งจากกลไก Proof of Work โดยเฉพาะการใช้โครงสร้างอัลกอริทึมเพื่อการทำเหมืองข้อมูลที่สามารถทำงานผ่านอุปกรณ์นับพันล้านเครื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ (อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ CPU แบบ x86) นอกจากนี้ Monero ยังใช้อัลกอริทึม Proof of Work (PoW) ของ CryptoNight ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้ใน CPU ธรรมดาด้วย

ฟีจเจอร์การทำเหมืองข้อมูลแบบอัจฉริยะนี้ช่วยให้สามารถทำเหมืองข้อมูลที่โปร่งใส่โดยใช้ CPU จากผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลจากเหมืองข้อมูล และอยู่ไกลจากการรวมศูนย์ข้อมูลในเชิงพฤตินัย (facto centralization) ซึ่งการทำงานนี้เป็นไปตามแนวคิดดั้งเดิมด้านสกุลเงิน P2P ที่แท้จริง (a true P2P currency) ของ Satoshi Nakamoto โดยเหมืองข้อมูลอัจฉริยะนี้สามารถใช้งานได้ในทุกระบบการทำงานของ CLI wallet ยกเว้น MacOS

ความยืดหยุ่น (Scalability)

Monero ไม่มีการกำหนดขนาดบล็อกสูงสุดแบบ hard code ซึ่งหมายความว่า Bitcoin ไม่มีการกำหนดคำสั่งป้องกันบล็อกที่ใหญ่กว่า 1 MB อย่างไรก็ตาม Monero ได้สร้างกลไกการลงโทษผ่านระบบการให้รางวัลขึ้น (block reward penalty mechanism) ในโปรโตคอล เพื่อหลีกเลี่ยงการเพิ่มขนาดบล็อกที่ใหญ่เกินไป โดยขนาดบล็อกใหม่ (NBS) จะนำมาเทียบกับขนาดเฉลี่ย M100 ของบล็อกจำนวน 100 บล็อกสุดท้าย โดยหาก NBS> M100 รางวัลจากการสร้างบล็อกก็จะลดลงแบบยกกำลังสองตามจำนวนของ NBS ที่สูงกว่า M100 เช่น ถ้า NBS [10%, 50%, 80%, 100%] มากกว่า M100 ก็จะได้รับรางวัลน้อยลง [1%, 25%, 64%, 100%] ซึ่งโดยทั่วไปแล้วระบบจะไม่อนุญาตให้มีการสร้างบล็อกที่ใหญ่กว่า 2*M100 ทั้งนี้ บล็อกขนาด < = 60kB จะไม่ถูกโทษใด ๆ ในระบบการให้รางวัล

การใช้ระบบการเพิ่มค่าธรรมเนียมแบบไดนามิกที่ 0.10.1 นั้น ใช้สูตร ค่าธรรมเนียม = (R/R0)(M0/M)F0 เมื่อมีการใช้ Monero เพิ่มขึ้น ค่าบริการต่อรายการธุรกรรม (the per-transaction fees) ก็จะลดลงในขณะที่ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมทั้งหมด (the total transaction fees) จะเพิ่มขึ้น

ทีมงานหลักของ Monero ได้จัดทำระบบ OpenAlias ซึ่งทำให้มีแอดเดรสที่มนุษย์สามารถอ่านได้มากขึ้นและเพิ่มผัง Zooko’s triangle ให้มากขึ้นแบบยกกำลังสอง OpenAlias สามารถใช้งานกับสกุลเงินดิจิตอลใด ๆ ก็ได้ และถูกนำมาใช้งานแล้วใน Monero, Bitcoin (ในเวอร์ชัน Electrum) และ HyperStake

โครงการที่กำลังดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและโครงการเสริม (Ongoing work and side projects)

  • RingCT: วิธีการทำธุรกรรมลับใน Monero ซึ่งการทำธุรกรรมลับ (Confidential transactions, CT) เป็นวิธีการซ่อนมูลค่าของธุรกรรมใน Bitcoin
  • OpenAlias: ระบบการสร้าง alias จาก Blockchain
  • Kovri: โซลูชันด้านความเป็นส่วนตัว ซึ่งนำ I2P มาใช้ใน Monero
  • URS: แนวคิดด้านการตรวจสอบผู้ใช้ผ่านระบบการประเมินค่าแบบไม่ระบุตัวตน โดยใช้ลายเซ็นวงแหวน (ring signatures)
  • 0MQ: ไลบรารี C API ซึ่งเครื่องที่รับบริการ (clients) นำมาใช้เชื่อมต่อกับบริการดีมอนของ Monero
  • รหัสช่วยจำของ Electrum สำหรับการกำหนดรหัสใน webwallet
  • ทีมงานหลักของ Monero (Monero Core Team) ยังคงดำเนินการต่อไปเพื่อแยกระบบออกจากรหัส Bytecoin ดั้งเดิมที่มีแพทช์จำนวนมากและปรับปรุงการใช้โปรโตคอล CryptoNote

การสมัครสมาชิก Coins.co.th เพื่อใช้งานกระเป๋าบิทคอยน์

0
ขั้นตอนการสมัครใช้งานบิทคอยน์ด้วย coins.co.th
ขั้นตอนการสมัครใช้งานบิทคอยน์ด้วย coins.co.th

Coins.co.th เป็นผู้ให้บริการซื้อขายบิทคอยน์ในประเทศไทยที่ใช้งานค่อนข้างง่าย เว็บไซต์สวยงาม สะอาด มีภาษาไทย และมีทีมงาน Support อยู่ตลอด

สำหรับท่านที่ต้องการสมัครบัญชีบิทคอยน์คลิกที่นี่ https://coins.co.th/invite/tsM33f 

ขั้นตอนการสมัคร Coins.co.th

  • เมื่อเข้าสู่หน้าแรก coins.co.th แล้วให้กรอกอีเมล์ และรหัสผ่าน หลังจากนั้นกดปุ่ม Create an account เพื่อให้ระบบสร้างบัญชีสมาชิกให้
ขั้นตอนการสมัครใช้งานบิทคอยน์ด้วย coins.co.th
ขั้นตอนการสมัครใช้งานบิทคอยน์ด้วย coins.co.th
  • ระบบจะส่งรหัสผ่านเพื่อยืนยันตัวตนไปที่อีเมล์ ให้ไปก๊อปปี้รหัสผ่านได้ (รหัสจะเป็นตัวเลข 6 ตัวตามรูปด้านล่าง) ที่มาใส่ในช่องสีขาว แล้วกด Verify
ขั้นตอนการสมัครใช้งานบิทคอยน์ด้วย coins.co.th
ขั้นตอนการสมัครใช้งานบิทคอยน์ด้วย coins.co.th
ขั้นตอนการสมัครใช้งานบิทคอยน์ด้วย coins.co.th
ขั้นตอนการสมัครใช้งานบิทคอยน์ด้วย coins.co.th
  • เมื่อกด Verified เสร็จแล้ว ระบบจะให้ ยืนยันหมายเลขโทรศัพท์มือถือ ถ้าไม่ต้องการก็สามารถกด Skip เพื่อข้ามขั้นตอนนี้ไปได้
ขั้นตอนการสมัครใช้งานบิทคอยน์ด้วย coins.co.th
ขั้นตอนการสมัครใช้งานบิทคอยน์ด้วย coins.co.th
  • Selfie Verified เป็นการยืนยันตัวตนว่าเราเป็นเจ้าของ บัญชีบิทคอยน์ ตัวนี้จริงขั้นตอนนี้แนะนำให้ทำการ Verified โดยการถ่ายรูปคู่กับบัตรประชาชน ใบขับขี่ หรือ พาสปอร์ต ครับ
ขั้นตอนการสมัครใช้งานบิทคอยน์ด้วย coins.co.th
ขั้นตอนการสมัครใช้งานบิทคอยน์ด้วย coins.co.th
  •  เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้วหน้าจอ Dashboard ของเว็บไซต์จะมีดังนี้
  • My Wallet : เป็นรายละเอียดบัญชี เช่น ยอดบิทคอยน์ที่มี, หมายเลขกระเป๋าบิทคอยน์ เป็นต้น
  • Cash In : เมนูสำหรับเข้าสู่ขั้นตอนการฝากเงินเข้าเพื่อซื้อบิทคอยน์
  • Cash Out : เมนูสำหรับถอนเงินบิทคอยน์ออกจากระบบ หรือจะชำระค่าบริการต่าง ๆ ก็ได้
  • Mobile Top Up : เมนูสำหรับเติมเงินมือถือ
ขั้นตอนการสมัครใช้งานบิทคอยน์ด้วย coins.co.th
ขั้นตอนการสมัครใช้งานบิทคอยน์ด้วย coins.co.th
  • หากเราไม่ได้ Verified สมาชิกตั้งแต่ขั้นตอนการสมัคร สามารถคลิกเมนูที่อยู่ด้านขวา แล้วเลือกหัวข้อ Limits & Verifications
ขั้นตอนการสมัครใช้งานบิทคอยน์ด้วย coins.co.th
ขั้นตอนการสมัครใช้งานบิทคอยน์ด้วย coins.co.th
  • การ Verified บัญชีสมาชิกบิทคอยน์ จะมี 4 ระดับ ประกอบด้วย
  • Level 1 : Verified Email จะสามารถเข้าระบบได้เท่านั้นยังไม่สามารถฝากถอนบิทคอยน์ได้
  • Level 2 : Identity Verification + Selfie Verification ยืนยันว่ามีตัวตนจริง เมื่อยืนยันขั้นตอนนี้ผ่าน จะฝากถอนบิทคอยน์ได้วันละ 3 บิทคอยน์
  • Level 3 : Complete Level 2 + 5 BTC Volume
  • Level 4 : Address Verification ยืนยันที่อยู่ เมื่อยืนยันผ่านจะสามารถฝากถอนบิทคอยน์ได้เพิ่มเป็น 10 บิทคอยน์ ต่อวัน
ขั้นตอนการสมัครใช้งานบิทคอยน์ด้วย coins.co.th
ขั้นตอนการสมัครใช้งานบิทคอยน์ด้วย coins.co.th
  • ตัวอย่างหน้าจอการยืนยันตัวตนแบบ Address Verification
ขั้นตอนการสมัครใช้งานบิทคอยน์ด้วย coins.co.th
ขั้นตอนการสมัครใช้งานบิทคอยน์ด้วย coins.co.th

Crypto Currency คืออะไร?

0
รู้จักกับเทคโนโลยีบล๊อคเชน

Crypto Currency เรียกง่าย ๆ ก็คือ เงินดิจิตอล หรือ สื่อกลางในการแลกเปลี่ยนแบบดิจิตอล การแลกเปลี่ยนรูปแบบดิจิตอลได้เริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2009 โดยพื้นฐานของ Crypto Currency ได้ออกแบบให้กระจายข้อมูลที่เข้ารหัส ออกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้มีศูนย์กลางอยู่ที่ใดที่หนึ่ง (decentralized) และการกระจายของข้อมูลสามารถป้องกันการควบคุมจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอย่างที่เกิดขึ้นในสกุลเงินที่ใช้ในปัจจุบัน

การกระจายของ Crypto Currency จะทำให้มูลค่าของ สกุลเงินดิจิตอล ขึ้นอยู่กับความต้องการของคนอย่างแท้จริง  ไม่ถูกผลกระทบจากนโยบายของธนาคารกลางหรือขึ้นอยู่กับประเทศใดประเทศหนึ่ง

ลักษณะของ Crypto Currency จะตรงกันข้ามกับ Fiat Currency หรือ เงินกระดาษ Fiat Currency คือ  รูปแบบของเงินทั่วโลกที่แต่ละประเทศใช้ในปัจจุบัน  ซึ่งมีค่าจากการที่รัฐบาลกำหนดค่าขึ้นโดยไม่มีสิ่งอื่นใดหนุนหลัง

มูลค่าของ Crypto Currency จะขึ้นอยู่กับความต้องการอย่างแท้จริง (demand-supply) ซัพพลายที่มีอยู่ในสกุลนั้นซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด โดยถูกกำหนดตั้งแต่ตอนเริ่มต้นและการเพิ่มค่าความยากในการหาสกุลเงินดิจิตอล นั้นๆ (difficulty) ยิ่งจำนวนสกุลเงินดิจิตอล มีมากขึ้นในระบบ ค่าความยากในการหาก็จะมีมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์กันว่าสกุลเงินดิจิตอลนั้นจะเป็นสกุลเงินในอนาคต อย่างไรก็ตามการสร้างขึ้นมาของสกุลเงินดิจิตอล ทำให้ประเทศมหาอำนาจเฝ้าจับตาเพราะมันอาจทำให้เงินกระดาษหมดมูลค่าไป

แนวโน้มของ Ethereum

0
ประวัติมูลค่าการซื้อขาย Ethereum เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2016
ประวัติมูลค่าการซื้อขาย Ethereum เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2016 : ข้อมูลจาก coinmarketcap.com

หลังจากที่ Ethereum โดนแฮ๊ก และได้แก้ไขด้วยการทำ Hard Fork ผ่านไปได้ด้วยดี ส่งผลให้ราคาของ ETH กลับมาอยู่ในสถานการณ์ปกติ แถมพุ่งขึ้นไปอีกต่างหาก แนวโน้มการเจริญเติบโตนั้น น่าจะเดินตามรุ่นพี่อย่าง บิทคอยน์ ได้ไม่ยากเย็น

หมายเหตุ :

  • เนื้อหาในบทความนี้ เป็นการวิเคราะห์ส่วนตัวจากความรู้ที่มีเกี่ยวกับค่าเงิน Ethereum มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้อ่านได้นำเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเอง ไม่ได้ต้องการชี้นำให้ทำตามบทความนี้ทั้งหมด

แนวทางการลงทุนสร้างรายได้กับค่าเงินดิจิตอล Ethereum มีดังนี้

  1. ซื้อ Ethereum เก็บไว้เพื่อเป็นการเก็งกำไรในอนาคต เหมือนกับเราซื้อหุ้นเอาไว้ จากประวัติการเติบโตของค่าเงินดิจิตอลต่าง ๆ ที่ผ่านมานั้น ส่วนมากจะมีแนวโน้มเติบโตขึ้น ยิ่งถ้ามองย้อนกลับไปถึง บิทคอยน์ เองก็เคยมีค่าแค่ไม่กี่สิบบาทต่อ 1 บิทคอยน์ แต่เดี๋ยวนี้พุ่งขึ้นไปเกือบ 30,000 บาทแล้ว
  2. ลงทุนขุด Ethereum โดยเราสามารถขุด Ethereum โดยใช้การ์ดจอที่แรง ๆ หรือจะเลือกขุดโดยใช้แรงขุดจาก Cloud Mining ต่าง ๆ เช่น Genesis Mining ก็ได้ สำหรับผมนั้นเลือกข้อหลัง ถึงแม้ว่าผลตอบแทนจากการขุดจะต้องแบ่งกับ Cloud Provider ด้วย แต่เราไม่จำเป็นต้องเสียค่าบำรุงรักษา ที่เป็นต้นทุนที่มันซ่อนอยู่
  3. เทรด Ethereum ข้อหลังนี้ผมเองไม่ชำนาญในการ Trade มากนัก แต่ถ้าหากใครที่มีประสบการณ์ในการเล่น Forex หรือการเทรดค่าเงินอยู่แล้ว คุณสามารถเอาความรู้เหล่านั้นมาประยุกต์ใช้กับ Ethereum ได้

 

ประวัติมูลค่าการซื้อขาย Ethereum เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2016
ประวัติมูลค่าการซื้อขาย Ethereum เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2016 : ข้อมูลจาก coinmarketcap.com

ลองดูค่าเงิน Ethereum จากตารางข้างบน จะเห็นว่าค่าเงิน Ethereum ในปี 2016 นั้นกระโดดขึ้นหลายเท่าตัวทีเดียว และมาคงที่เอาปลาย ๆ ปี ใครที่มีค่าเงินตัวนี้เอาไว้ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น ป่านนี้น่าจะเป็นเศรษฐีเล็ก ๆ ไปแล้วก็ได้

การทำงานของ Ethereum

0
ethereum น้ำมันในโลกดิจิตอล
ethereum น้ำมันในโลกดิจิตอล

Ethereum เป็นอีกสกุลเงินดิจิตอลอีกสกุลหนึ่งที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain ในการทำธุรกรรม ออกตามรุ่นพี่ บิทคอยน์ ซึ่งมีการใช้งานกันค่อนข้างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับ Ethereum นี้ถูกออกแบบขึ้นมาครั้งแรกในช่วงปลายปี 2013 โดยทีมพัฒนาเองได้เคลมว่าเป็นเสมือน บิทคอยน์ เวอร์ชั่น 2 ซึ่งที่บางคนเรียกแบบนี้เพราะว่าเทคโนโลยีที่ใช้งานเป็นพื้นฐานนั้นเหมือนกัน และตัว Ethereum เองพยายามที่จะแก้ไขจุดบกพร่องของ บิทคอยน์ ออกทั้งหมด ปัจจุบันสกุลเงินดิจิตอลตัวนี้ยังคงพัฒนาอยู่เสมอโดยองค์ที่ชื่อว่า Ethereum Foundation

หลังจากที่ได้พัฒนามาได้ร่วม ๆ 2 ปี Ethereum ก็เปิดตัวให้ใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2015 และยังคงพัฒนาอยู่ต่อเนื่องจนทุกวันนี้

ในเดือนกรกฎาคมปี 2016 ระบบ DAO (Decentralized Autonomous Organization) ถูกแฮ็กข้อมูล ทำให้สูญเสียเงินไปเป็นมูลค่าราว ๆ 50 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งเมื่อ Ethereum ได้จัดการอุดช่องโหว่ตัวนี้แล้ว ก็ได้มีการพัฒนาความปลอดภัยขึ้นไปอีก 1 ขั้น แต่ด้วยเหตุการณ์นี้ ทำให้ Ethereum เองได้แตกออกเป็น 2 สกุล ได้แก่ Ethreum (ETH) และ Ethereum Classic (ETC)

ลองดูภาพ Infographics จากเว็บ http://ethereumtimeline.org/ ดูครับ ได้สรุปไว้ให้ชัดเจนทีเดียวเลยเกี่ยวกับ Ethereum

อธิบาย Ethereum ด้วย Infographics
อธิบาย Ethereum ด้วย Infographics : http://ethereumtimeline.org/

Hard Fork? Soft Fork? มันคืออะไร เกี่ยวอะไรกับสกุลเงินดิจิตอล

0
Ethereum Hard Fork
ภาพประกอบจาก : https://bitcoinmagazine.com/

สกุลเงินดิจิตอล หรือ Cryptocurrency มีสกุลใหม่ ๆ ออกมาเรื่อย ๆ อันเดิม ๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อหลอกลวงก็อยู่ได้ไม่นาน ก็จะล้มหายตายจากออกไปจากตลาด ถ้าให้นับจนถึงวันที่อัพเดตบทความนี้ (ปี 2021) ผมเห็นเงินดิจิตอลในตลาดราว ๆ 3-4 พันสกุลเลยทีเดียว

การเกิดใหม่ของสกุลเงินคริปโตแต่ละตัว จะมีขั้นตอนแตกต่างกัน เท่าที่สรุปได้จากประสบการณ์จะมีประมาณนี้

  1. พัฒนาจาก Source Code เดิม โดยเอาสกุลเงินเดิมมาพัฒนาเพิ่มในแนวทางของตัวเอง แล้วก็เปลี่ยนชื่อเป็นเหรียญใหม่ นับใหม่จากศูนย์
  2. Hard fork
  3. Soft fork

ในบทความนี้เราจะไปทำความรู้จักกันนิดหน่อยเกี่ยวกับ Hard fork และ Soft fork

Ethereum Hard Fork
ภาพประกอบจาก : https://bitcoinmagazine.com/

Hard Fork

“Hard Fork” คือการสร้างระบบใหม่ที่ไม่สามารถทำงานร่วมกับระบบเก่าได้ แต่มูลค่าเงินที่เคยมีจากระบบเดิมก็จะยังคงอยู่

ตัวอย่าง

  • Ethereum ที่เคยโดนแฮ๊คระบบไปช่วงเริ่มต้นได้ไม่นาน เมื่อเกิดปัญหาขึ้นทีมงานได้แก้ไขโดยการทำ Hard Fork โดยการพัฒนา Source Code ใหม่ ปรับปรุงช่องโหว่ให้ดีขึ้น และเอาข้อมูลการเงินเดิมที่เคยมีมาใช้งานต่อ สุดท้ายแล้วผลลัพท์จากการ Hard fork ครั้งนั้นก็คือ ผู้ใช้งานก็ยังคงมีเงินเหลือเหมือนเดิม แต่ระบบข้างหลังเป็นของใหม่แล้ว

** หลังจากที่การทำ Hard Fork ของ Ethereum ผ่านไปได้ด้วยดี มีนักพัฒนาบางกลุ่มแตกตัวออกมาพัฒนา Ethereum Classic (ETC) ซึ่งเอาข้อมูลเดิมมาใช้งานต่อนั่นแหละ ในตอนนั้นจึงทำให้มีข้อมูล 2 ชุด ใครที่มี ETH เดิมก่อนหน้า ก็จะมี ETH ในระบบใหม่ด้วย และ มีใน ETC ด้วย **

  • Ethereum (ETH) : คือ สกุลเงิน Ethereum ที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไขแล้ว
  • Ethereum Classic (ETC) : คือ สกุลเงิน Ethereum แบบดั้งเดิม สำหรับคนที่ยังหลงไหล Ethereum แบบเดิม

วิธีการ Hard Fork ก็คือการเข้าไปแก้ Source Code ของระบบเก่าที่มีอยู่แล้ว ในส่วนของข้อกำหนดความเข้ากันได้ เพื่อให้เกิดระบบใหม่แยกออกมา จากนั้นก็ตั้งชื่อคอยน์ แล้วเปิดรันระบบ กลายเป็นคอยน์ตัวใหม่

Soft Fork

Where Curiosity Meets CreativitySoft Fork จะว่าไปมันก็คล้าย ๆ กับ Hard Fork  แต่มันเบากว่านิดนึงคือ มันจะมีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เคยใช้งานใน Blockchain เดิม เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เจอในระบบ เช่น เพิ่มขนาด Block หรือเปลี่ยน Protocol ใหม่ เป็นต้น ซึ่ง Block เดิมก็ยังคงใช้งานได้เหมือนเดิม

Soft Fork vs Hard Fork

เปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่าง Soft Fork และ Hard Fork
เปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่าง Soft Fork และ Hard Fork

Passive Income มันคืออะไร (วะ) พูดกันจัง

1
Passive Income คืออะไร

คงไม่ใช่ผมคนเดียวในฐานะมนุษย์เงินเดือนต๊อกต๋อย ที่มักจะมองหาลู่ทางใหม่ ๆ เพื่อให้มีรายรับมาจากหลาย ๆ ทางอยู่สม่ำเสมอ และคำที่มักได้ยินบ่อย ๆ เห็นจะหนีไม่พ้นคำว่า “Passive Income” ได้ยินแรก ๆ เออ มันเท่ห์ดีนะ แล้วก็พูดติดปากตามคนอื่น มาเรื่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่ไม่เข้าใจความหมายของคำว่า “Passive Income” สักเท่าไหร่นัก

แล้วคำว่า “Passive Income” มันหมายความว่าอะไรกันแน่?

เอาเป็นว่าแปลตรง ๆ ตัว ถอดแบบมาจาก Dictionary เลยจะได้ความหมายว่า “รายได้เชิงรับ” เอ้า … อะไรล่ะทีนี้ ยิ่งแปลยิ่ง งง คำเดิมก็เท่ห์ดีอยู่แล้ว ต้องแปลจากไทยเป็นไทยอีกทีหนึ่ง คำว่า “รายได้เชิงรับ” นั้น คือ “รายได้ที่ไม่ได้มาจากการที่เราออกแรงทำงานโดยตรง” จินตนาการกันง่าย ๆ ครับว่า “ในวันใดที่เราไม่ได้ทำงานแล้ว แต่เรายังคงมีรายรับวิ่งเข้ากระเป๋าเราอยู่สม่ำเสมอ” ไม่ว่าจะเป็นรายได้ทางไหนก็ตาม รายได้ก้อนนี้แหละครับที่เรียกว่า “Passive Income” และถึงแม้เราไม่มีชีวิตอยู่ รายได้ก็ยังคงอยู่ตลอดไป สามารถส่งต่อให้ลูกหลานของเราได้

Passive Income จำเป็นต้องค่อย ๆ เติบโตเหมือนการปลูกต้นไม้

เงินเดือนของข้าราชการ เงินเดือนพนักงานบริษัทฯ เป็น Passive Income หรือไม่?

คำตอบ คือ “ไม่ใช่” และ ไม่มีทางเป็นไปได้เลย เพราะเงินเดือนเหล่านั้นเกิดจากการทำงานในแต่ละเดือนเพื่อให้ได้ค่าตอบแทนมา ดังนั้นเงินเดือนจึงเป็น Active Income (รายได้เชิงรุก) ง่าย ๆ คือ ต้องทำงานถึงจะได้ ซึ่งเมื่อใดที่เราหยุดทำงาน หน่วยงานราชการหรือบริษัทที่เป็นนายจ้างก็ย่อมหยุดจ่ายเงินเดือนไปโดยปริยาย รายได้ของเราก็จะหดหายไปทันที ถ้าเราป่วย เราตาย รายได้นั้นก็จะตายตามเราไปด้วย ลูกหลานเราก็ไม่ได้อะไร หรือเต็มที่ก็เงินก้อนเล็ก ๆ ก้อนหนึ่ง

ข้อแตกต่างระหว่าง Active Income กับ Passive Income

  • Active Income = คุณ ทำงานเพื่อ เงิน (You work for money.)
  • Passive Income = เงิน ทำงานเพื่อ คุณ (Money working for you.)

ข้อดีของ Passive Income มีอะไรบ้าง?

  • สร้างอิสรภาพทางการเงิน — ข้อนี้ชัดเจนมาก เพราะเมื่อวันใดที่เรามีรายได้เชิงรับ หรือ Passive Income มากกว่ารายจ่ายในแต่ละวัน เมื่อนั้นเราก็บอกลางานประจำได้เลย เราจะมีเวลามากกว่าคนอื่นทันทีอย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อวัน แถมไม่ต้องตอกบัตรเช็คชื่อเข้าทำงานอีกด้วย
  • เป็นแหล่งรายได้ใหม่ — ชีวิตเราเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ถึงแม้เราจะมีความสุขกับงานที่ทำอยู่ แต่ถ้าวันใดเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น ถูกไล่ออก หรือ ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ แต่ถ้าเรามีแหล่งรายได้จาก Passive Income อยู่ ครอบครัวเราก็จะไม่เดือดร้อน
  • เป็นแหล่งรายได้ที่ต่อเนื่อง — ไม่ว่าคุณจะรักงานประจำที่คุณทำขนาดไหน ซักวันหนึ่งคุณก็คงต้องหยุดทำ อาจเนื่องด้วยสาเหตุทางด้านอายุ และสุขภาพ เงินรายได้จากการทำงานก็จะต้องหดหายไปในที่สุด แต่ถ้าเรามี Passive Income คอยรองรับอยู่ เงินรายได้ตรงนี้จะยังคงไหลเข้าสู่กระเป๋าของคุณอย่างต่อเนื่อง แถมยังตกทอดเป็นมรดกให้คนใกล้ชิดได้อีกต่างหาก (เราไม่สามารถยกตำแหน่งงานในฐานะลูกจ้างให้ลูกหลานเราได้ ถูกต้องไหมครับ)
  • เป็นมรดกตกทอดให้ลูกหลาน — อย่างที่อธิบายไว้ด้านบน เมื่อเราวางระบบไว้ดีแล้ว แม้ว่าเราจะไม่อยู่ หรือตายไป รายได้ดังกล่าวยังคงอยู่ และส่งต่อให้กับลูกหลานของเราได้ตลอดไป

ตัวอย่าง Passive Income

  • ค่าเช่า หอพัก ตึก ที่ดิน ฯลฯ
  • ปล่อยเงินกู้ ทั้งถูกกฎหมาย และผิดกฎหมาย
  • ค่าลิขสิทธิ์ จากสิ่งที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญา หรือ จากการจดลิขสิทธิ์ หรือ เอกสิทธิ์เฉพาะ
  • Network Marketing รายได้จากการการตลาดแบบ “เครือข่ายผู้บริโภค”
  • การขุดบิทคอยน์ และ เงินดิจิตอลชนิดอื่น ๆ เช่น การขุด Monero (XMR), การขุด Litecoin
  • และอื่น ๆ อีก ถ้าคุณอยากรู้ อยากลองศึกษา เปิดใจ และมีความตั้งใจที่จะสร้างอิสรภาพให้กับตัวเอง ปลดแอกจากคำว่า “มนุษย์เงินอยู่ไปเดือน ๆ”

ไม่พยายามก็ไม่มี Passive Income


สรุป

คำว่า Passive Income นั้นถึงแม้ว่าจะสามารถตีความออกไปได้หลายอย่างแล้วแต่ว่าใครจะเข้าใจความหมายลงไปลึกซึ้งขนาดไหน แต่โดยเนื้อแท้แล้วนั้นไม่ได้มีอะไรแตกต่างกัน เพราะมันก็คือรายได้ที่เราได้รับโดยที่ไม่ต้องทำอะไรนั่นเอง การสร้างรายได้ให้เป็นแบบ Passive Income นั้นจำเป็นต้องใช้ความพยายามพอสมควร ไม่ต่างจากการปลูกต้นไม้จากต้นกล้าเล็ก ๆ ที่จะต้องคอยใส่ปุ๋ย รดน้ำ ให้ค่อย ๆ เจริญเติบโตไปเรื่อย ๆ

การขุดบิทคอยน์คืออะไร?

0
การขุดบิทคอยน์คืออะไร
การขุดบิทคอยน์คืออะไร

สกุลเงินในแบบทั่ว ๆ ไปนั้นจะมีการพิมพ์และผลิตออกมาโดยรัฐบาลของแต่ละประเทศ โดยจะต้องมีทองเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเอาไว้ ก่อนที่จะทำการผลิตเงินรูปแบบต่าง ๆ ออกมา เช่น ธนบัตร, เหรียญ เป็นต้น ยกเว้นประเทศสหรัฐอเมริกาที่ยกเลิกการใช้ทองเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน แต่หากพูดถึง บิทคอยน์ นั้นจะไม่มีตัวเงินในรูปแบบทางกายภาพ ทั้งเหรียญหรือธนบัตร แต่จะอยู่ในรูปแบบของเงินดิจิตอลเท่านั้น

การขุดบิทคอยน์คืออะไร?

หากมองว่า บิทคอยน์ คือ สกุลเงินทั่วไปที่สามารถโอนให้กันและกันได้แล้ว เมื่อมีการส่งเงินให้ปลายทางก็จะมีค่าธรรมเนียมเกิดขึ้น ซึ่งตรงนี้เองที่จะเรียกว่า “การขุดบิทคอยน์” โดยการทำงานของเครือข่าย บิทคอยน์ ทั่วโลก ที่จะไม่มีใครเป็นเจ้าของจะทำให้ใครก็ได้สามารถที่จะเข้ามา ขุดบิทคอยน์ เมื่อเริ่มมีการโอนเงินผ่านเครือข่าย บิทคอยน์ นักขุดบิทคอยน์ซึ่งจะมีการตั้งคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการประมวลผลคณิตศาสตร์ขั้นสูง ก็จะเข้ามาตรวจสอบรายการต่าง ๆ เหล่านั้น และทำการยืนยันกลับเข้าไปในระบบ และจะได้ค่าตอบแทนในการยืนยันกลับมาเป็น บิทคอยน์ 

ข้อดี ของการ ขุดบิทคอยน์ ก็คือ ไม่มีใครเป็นเจ้าของระบบ ไม่ขึ้นอยู่กับธนาคารใด ธนาคารหนึ่ง ใคร ๆ ก็สามารถหาเครื่อง ขุดบิทคอยน์ มาทำการขุดได้ ซึ่งแตกต่างจากการโอนเงินทั่ว ๆ ไปที่เราจะต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับธนาคาร

ขั้นตอนการทำงานของ Blockchain และการขุดบิทคอยน์
ขั้นตอนการทำงานของ Blockchain และการขุดบิทคอยน์

ข้อควรรู้และระวังในการขุดบิทคอยน์

  • การขุดบิทคอยน์จะมีความยากขึ้นเรื่อย ๆ โดยทุก ๆ 4 ปีจะขุดได้ลดลง เหลือเพียงครึ่งหนึ่ง
  • เครื่องที่ใช้ในการขุดบิทคอยน์ต้องมีความสามารถในการประมวลทางคณิตศาสตร์ขั้นสูง เมื่อเริ่มแรก ๆ นั้นมักจะใช้ความสามารถของ GPU ที่อยู่ในการ์ดจอ แต่ปัจจุบันมีเครื่องสำหรับขุดบิทคอยน์โดยเฉพาะ เช่น AntMiner
  • หากไม่ต้องการลงทุนเครื่องขุดบิทคอยน์ สามารถซื้อแรงขุดได้จาก Cloud Miner Provider ได้เช่น genesis-mining เป็นต้น (สนใจสมัคร genesis-mining กรอกรหัส NzeoO5 จะได้ส่วนลด 30% ในการซื้อแรงขุด)

เงินในโลกดิจิตอล (บิทคอยน์)

0
บิทคอยน์
บิทคอยน์

ในยุคที่เทคโนโลยีได้รับการพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดจนในบางครั้งประชาชนอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ ก็ไม่สามารถที่จะติดตามทําความรู้จักและเข้าใจกับสิ่งต่าง ๆ ที่ถูกประดิษฐ์ คิดค้นขึ้นมาใหม่ได้ทันไปทั้งหมด และนั่นก็คงจะรวมไปถึงนวัตกรรมการชําระเงินล่าสุดที่ได้รับการพูดถึงอย่างหนาหูในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเรียกว่า “บิทคอยน์” ด้วยเช่นกัน

บิทคอยน์ คือ หน่วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นจากกลไกทางคอมพิวเตอร์ที่ถูกสร้างขึ้นโดย บุคคลลึกลับ (ปัจจุบันเชื่อกันว่า คือ Mr.Satoshi Nakamoto) จัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกกันว่า เงินดิจิตอล (Digital money) หรือ เงินเสมือนจริง (Virtual currency)

ความเป็นมาของบิทคอยน์

บิทคอยน์ เริ่มถูกนํามาใช้ในปี พ.ศ. 2552 โดยคนกลุ่มหนึ่งเพื่อ การชําระ หรือโอนและแลกเปลี่ยนกันเฉพาะเครือข่ายในโลกออนไลน์อย่างไรก็ตามแม้จะมีการใช้คําว่า “เงิน” แต่เงินดิจิตอลนี้ไม่ถือเป็นเงินที่ใช้ชําระหนี้ได้ตามกฎหมายและไม่มีมูลค่าในตัวเอง มูลค่าที่เกิดขึ้น เกิดจากความต้องการของกลุ่มคนที่ซื้อขายแลกเปลี่ยนกันเองดังนั้นมูลค่าจึงเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว และอาจกลายเป็นสิ่งที่ไม่มีค่าได้เมื่อไม่มีความต้องการแล้ว ตัวอย่าง เช่น ร้านค้าที่รับชําระด้วยเงินดิจิตอล หากมีความจําเป็นต้องการใช้เงิน ก็ต้องนําไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินตราสกุลต่าง ๆ เช่น ดอลล่าร์สหรัฐฯ หรือ แม้แต่เงินบาท เสียก่อน และอัตราที่แลกเปลี่ยนก็ไม่แน่นอน มูลค่าที่ได้รับอาจจะมากกว่า น้อยกว่า หรือไม่มี มูลค่าเลยเมื่อเทียบกับราคาสินค้าที่ขายไป ดังนั้นเงินดิจิตอลจึงเป็นเพียงแค่หน่วยอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในบทความนี้จะขอใช้คําว่าเงินดิจิตอลไปก่อน

เงินดิจิตอล ฟังดูเผิน ๆ อาจจะคล้ายกับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) แต่ความจริงแล้ว แตกต่างกันโดย สิ้นเชิง โดย e-Money เช่น บัตรที่ใช้ในศูนย์อาหาร บัตรโดยสารรถไฟฟ้า หรือ การใช้ e-Money ผ่าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่มีการให์บริการอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เป็นบริการทางการชําระเงินที่ประชาชนนําเงินจริงมาชําระไว้ล่วงหน้าให้แก่ผู้ให้บริการและมีการบันทึกมูลค่าหรือจํานวนเงินไว้แน่นอนและผู้ให้บริการจะรับผิดชอบต่อ e-Money ดังกล่าวตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ ซึ่งเงินคงเหลือที่ถูกบันทึกอยู่ในสื่อ ต่าง ๆ ยังเป็นของผู้ใช้บริการตามมูลค่าเงินนั้นไม่เปลี่ยนแปลง ต่างจากบิทคอยน์ที่เป็นเพียงข้อมูลทาง อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีการกําหนดมูลค่ากันเองภายในกลุ่ม

วิธีการได้บิทคอยน์มาครอบครอง

การที่จะได้มาซึ่งบิทคอยน์นั้น ผู้เล่น หรือ “Miners” ต้องแก้ปัญหาโจทย์ทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนและมี ความยากขึ้นเรื่อย ๆ แปรผันตามจํานวน บิทคอยน์ ที่ออกไปสู่ระบบ ซึ่งการแก้โจทย์ที่ว่านั้นต้องใช้เครื่อง คอมพิวเตอร์ที่มีศักยภาพสูงมาก โดยหากแก้โจทย์ได้จะได้รับบิทคอยน์เป็นผลตอบแทน ซึ่งจะลดลงกึ่งหนึ่ง ทุก ๆ 4 ปี เช่น ถ้าในช่วงปี 2552-2556 ได้รับผลตอบแทนเป็นจํานวน 50 บิทคอยน์ในสี่ปีถัดไปจะได้รับบิทคอยน์เพียง 25 หน่วยหากแก้โจทย์สําเร็จ โดยจะเป็นเช่นนี้เรื่อยไปจนคาดว่าในที่สุดบิทคอยน์ในระบบจะมี จํานวนเท่ากับ 21 ล้านหน่วย

แต่ถ้าเห็นว่าการเป็น Miners ช่างยุ่งยาก วุ่นวาย คุณก็อาจรับโอนหรือซื้อบิทคอยน์จากผู้ที่ถือครองได้ โดยต้องลงโปรแกรม Bitcoin Wallet บนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต ซึ่งโปรแกรมจะสร้างที่อยู่ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นเลขที่บัญชี เพื่อการจัดเก็บบิทคอยน์

โดยในประเทศไทยเองก็มีผู้ให้บริการ Bitcoin Wallet หลายราย เช่น Coins.co.th, Bx.in.th เป็นต้น หากใครที่ต้องการเป็นเจ้าของ บิทคอยน์ สามารถสมัครเว็บไซต์ดังกล่าว และทำการโอนเงินเพื่อซื้อบิทคอยน์จากผู้ให้บริการ

อย่างไรก็ดี ในระยะที่ผ่านมาเริ่มมีการนําเงินดิจิตอลอย่างบิทคอยน์ มาใช้เพื่อซื้อสินค้าและบริการจริงจาก ร้านค้าออนไลน์และร้านค้าทั่วไป เช่น เว็บไซต์ Overstock.com ของสหรัฐอเมริการ้านค้าออนไลน์ขนาด ใหญ่แห่งแรกที่เปิดรับการจ่ายเงินด้วยบิทคอยน์รวมถึง ร้านอาหาร โรงแรม บางแห่งเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนําบิทคอยน์ไปแลกเปลี่ยนเป็นสกุลเงินจริงและมีการกําหนดอัตราแลกเปลี่ยนกันเองภายในเครือข่าย

ด้วยเหตุนี้เองบิทคอยน์จึงกลายเป็นช่องทางการเก็งกําไรรูปแบบใหม่ที่เย้ายวนให้นักเก็งกําไรหันมาให้ความสนใจในบิทคอยน์เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ …

บิทคอยน์กับความเสี่ยงและผลตอบแทน

1. ความเสี่ยงประการแรก คือ แม้จะมีคําว่า “Currency” เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่บิทคอยน์นั้นยังไม่ถือว่าเป็นเงินตราตามกฎหมายที่ได้รับการรับรองจากทางการจึงไม่ได้รับการคุ้มครองและไม่สามารถใช้ชําระหนี้ได้ตามกฎหมาย การซื้อขายแลกเปลี่ยนถือเป็นข้อตกลงร่วมกันเองระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย และหากเกิดปัญหา การฟ้องร้องอาจ ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะการทําธุรกรรม Bitcoin นั้น ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลของคู้ค้าผู้ทําธุรกรรม เช่น ชื่อ ที่อยู่ ประวัติการทําธุรกรรม และไม่จําเป็นต้องแสดงตัวตนในการใช้บริการ

2. ความเสี่ยงที่สําคัญอีกประการหนึ่ง คือ มูลค่าของบิทคอยน์จะมีความผันผวนอย่างมาก เพราะอัตราแลกเปลี่ยน ของบิทคอยน์จะผันแปรไปตามความต้องการซื้อและขาย ณ ช่วงเวลานั้น ๆ โดยในช่วงเริ่มต้นมูลค่าของบิทคอยน์คิดเป็นเพียงไม่กี่เซนต์แต่ก็ปรับตัวสูงขึ้นแบบฉุดไม่อยู่ในปีที่ผ่านมาโดยพุ่งจนเกือบเท่าทองคํา เพียงในระยะเวลาอันสั้น จนถึงจุดสูงสุดประมาณ 1,100 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อ 1 บิทคอยน์ก่อนจะตกลงมา เหลือประมาณ 850 ดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในวันเดียว เมื่อธนาคารกลางประเทศจีนสั่งห้ามธนาคารพาณิชย์ และผู้ให้บริการรับชําระเงินยุ่งเกี่ยวกับบิทคอยน์ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายบิทคอยน์หรือการให้บริการที่มีส่วน เกี่ยวข้องกับบิทคอยน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม

Bitcoin Price Chart

ปัจจุบัน บิทคอยน์ มีราคาเคลื่อนไหวอยู้ที่ประมาณ 4,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อ 1 บิทคอยน์ (ข้อมูล ณ วันที่  28 มีนาคม 2562) โดยมูลค่าที่ ผันผวนนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อเงินในกระเป๋าของผู้ถือครองบิทคอยน์และหากมูลค่าบิทคอยน์ลดลงหรือเพิ่ม สูงขึ้นเรื่อย ๆ อาจไปถึงจุดที่เกิดการล่มสลาย ทําให้บิทคอยน์ที่ถือครองอยู่ไม่มีมูลค่าพื้นฐานใดเลยก็เป็นได้

นอกจากนี้บิทคอยน์ยังมีความเสี่ยงจากการสูญหายได้เนื่องจากถูกจัดเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ อุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตของผู้ถือครอง ซึ่งมีความเสี่ยงจากการที่เครื่องสูญหาย หรือ ถูกโจรกรรมข้อมูล โดยตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ บริษัท Mt.Gox ตลาด บิทคอยน์ ที่ใหญ่ที่สุดซึ่งตั้งอยู่ในญี่ปุ่นได้ยื่นขอล้มละลายเมื่อไม่นานมานี้ หลังจากที่บริษัทอ้างว่าถูกโจรกรรมข้อมูล และสูญเสียบิทคอยน์มูลค่าราว 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

โดยสรุปแล้ว บิทคอยน์ ถือเป็นนวัตกรรมการชําระเงินรูปแบบใหม่ที่มีความซับซ้อน หากต้องการจะถือครอง บิทคอยน์ หรือ ระบบ Digital/Virtual currency อื่น ๆ ในลักษณะดังกล่าว คุณควรศึกษาข้อมูลและทําความ เข้าใจอย่างถ่องแท้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็น “ความเสี่ยง” ที่อาจเกิดขึ้น….


ต้นฉบับบทความ

เพชรินทร์ หงส์วัฒนกุล และ รังสิมา บุญธาทิพย์