Tuesday, April 23, 2024

รู้จักกับ Monero (XMR)

Share

Monero (XMR) เป็นสกุลเงินดิจิตอลระบบเปิด (open-source cryptocurrency) ที่สร้างขึ้นเมื่อเดือนเมษายน 2014 โดยให้ความสำคัญกับเรื่องความเป็นส่วนตัว (privacy) การกระจายข้อมูล (decentralization) และความยืดหยุ่น (scalability) ซึ่งแตกต่างจากสกุลเงินดิจิตอลจำนวนมากที่เป็นอนุพันธ์ของ Bitcoin

ทั้งนี้ Monero ใช้โปรโตคอล CryptoNote ซึ่งมีความแตกต่างด้านอัลกอริทึมเพื่อสร้าง Blockchain ที่ซับซ้อน ทั้งนี้ โครงสร้างแบบโมดูลของ Monero ได้รับการยกย่องจาก Wladimir J. van der Laan ซึ่งเป็นผู้ดูแลระบบจาก Bitcoin Core และ Monero มีการเติบโตอย่างรวดเร็วด้านมูลค่าตลาด (จาก 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐถึง 185 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) รวมถึงจำนวนการทำธุรกรรมในปี 2016 ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการที่ Alpha Bay นำระบบดังกล่าวมาใช้ในช่วงปลายฤดูร้อนปี 2016 โดยในปี 2017 Monero ก็ขึ้นมาเป็นสกุลเงินดิจิตอลที่มีซื้อขายกันมากที่สุดเป็นอันดับที่ 6 โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงกว่า 600,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Monero

ความเป็นมา (History)

Monero เปิดตัวเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2014 ภายใต้ชื่อ BitMonero ซึ่งเป็นการผสมคำว่า Bit (เช่นที่ใช้ในคำว่า Bitcoin) และ Monero (แปลว่า “เหรียญ” ในภาษาเอสโตเนีย) ซึ่งในระยะเวลา 5 วันต่อมา ชุมชนผู้ใช้สกุลเงินดังกล่าวก็ได้เรียกชื่อสกุลเงินนี้ให้สั้นลงโดยเหลือเพียงคำว่า Monero ซึ่ง Monero  ถูกเปิดตัวในฐานะการแตกสาขา (fork) ของ Bytecoin ที่ใช้โปรโตคอล CryptoNote แต่ Monero ถูกปล่อยตัวออกมาพร้อมข้อแตกต่างที่สำคัญ 2 ประการ

  • ประการแรก เป้าหมายของการสร้างบล็อกลดลงจากระยะเวลา 120 เป็น 60 วินาที
  • ประการที่สอง ความเร็วในการปล่อย XMR ลดลง 50% (ภายหลัง Monero ได้กลับไปใช้เป้าหมายในการสร้างบล็อกที่ระยะเวลา 120 วินาที พร้อมรักษาจังหวะในการปล่อย XMR โดยเพิ่มการปล่อย XMR เป็นสองเท่าต่อบล็อกใหม่หนึ่งบล็อก) นอกจากนั้น นักพัฒนา Monero พบว่ามีปัญหาจำนวนมากเกิดขึ้นจากรหัสที่ด้อยคุณภาพ แต่ในระยะเวลาต่อมาก็มีการลบรหัสนั้นและสร้างรหัสขึ้นขึ้นมาใหม่

ในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์หลังจากการเปิดตัว Monero กลไก Proof of Work (PoW) ของ CryptoNight ซึ่งใช้หน่วยประมวลผลกราฟฟิก (GPU) ก็ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาสำหรับ Miner

เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2014 Monero ก็สามารถฟื้นตัวจากการโจมตีที่มีความผิดปกติและแปลกใหม่ผ่านเครือข่ายระบบเงินดิจิตอล

เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2017 มีการเพิ่มระดับความเป็นส่วนตัวในการทำธุรกรรมผ่าน Monero ให้สูงขึ้นด้วยการใช้ฟีเจอร์ Ring Confidential Transactions (RingCT) ของ Gregory Maxwell ซึ่งเป็นนักพัฒนาของ Bitcoin Core โดยเริ่มต้นด้วยบล็อก #1220516 ทั้งนี้ มีการใช้ลายเซ็นวงแหวนเพื่อเพิ่มระดับชั้นการรักษาความลับโดยซ่อนปริมาณการทำธุรกรรมเพื่อไม่ให้บุคคลที่ไม่มีส่วนร่วมโดยตรงเห็น การใช้ RingCT ในการทำธุรกรรมถูกกำหนดเป็นค่าเริ่มต้น (default) อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ยังคงสามารถส่งธุรกรรมได้แม้ไม่ใช้ RingCT ก็ตามจนกว่าจะมีการแตกสาขาแบบ hard fork ในเดือนกันยายนปี 2017 ทั้งนี้ เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ พบว่า 95% ของการทำธุรกรรมที่ไม่ผ่าน coinbase นั้นใช้ RingCT

ลักษณะเด่น (Feature)

Monero เป็นสกุลเงินดิจิตอลที่มีกลไก Proof of Work ระบบเปิด (open-source cryptocurrency) ซึ่งสามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการ Windows, Mac, Linux และ FreeBSD

Monero จะมีการปล่อย XMR ตลอดเส้นโค้งอยู่ที่ประมาณ 18.4 ล้านเหรียญสำหรับการขุดเงินในเวลาประมาณ 8 ปี (กล่าวโดยละเอียดคือจะมีการปล่อย XMR อยู่ที่ 18.132 ล้านเหรียญโดยประมาณในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมปี 2022) หลังจากนั้น “การปล่อย XMR ช่วงท้าย” จะคงตัวอยู่ที่ 0.6 XMR ต่อการสร้างบล็อกระยะเวลา 2 นาที (มีการปรับเปลี่ยนระยะแรกซึ่งอยู่ที่ 0.3 XMR ต่อบล็อกระยะเวลา 1 นาที) ซึ่งจะสร้างอัตราเงินเฟ้อต่อเนื่องที่ -1% (ซึ่งเริ่มจากอัตราเงินเฟ้อ 0.87% ต่อปีในเดือนพฤษภาคมปี 2022) เพื่อป้องกันการขาดแรงจูงใจของ Miner

เมื่อสกุลเงินดังกล่าวไม่สามารถทำการขุดได้อีกต่อไป การปล่อย XMR จะค่อย ๆ ลดลง โดยไม่มีตัดแบ่งบล็อก (บล็อกใด ๆ ที่ก่อให้เกิด XMR น้อยกว่า XMR ก่อนหน้านี้ โดยใช้สูตร: การปล่อย XMR ต่อ บล็อกระยะเวลา 2 นาที = max (0.6, floor ((M – A) × 2-19) × 10-12) XMR, โดยที่ M = 264 – 1 และ A = 1012 เท่าของปริมาณ XMR ที่ปล่อยออกมาแล้ว) หน่วยของเงินที่น้อยสุดที่สามารถใช้ได้คือ 10-12 XMR โครงสร้างกลไก Proof of Work ของ CryptoNight ที่เน้นการเข้ารหัสลับแบบ AES (Advanced Encryption Standard) และใช้หน่วยความจำเยอะมากนั้นจะเป็นการลดทอนข้อได้เปรียบของหน่วยประมวลผลกราฟฟิก (GPU) เมื่อเปรียบเทียบกับหน่วยประมวลผลกลาง (CPU)

ความเป็นส่วนตัว (Privacy)

Monero มีวิธีการปกป้องความเป็นส่วนตัว 3 วิธี สำหรับการทำธุรกรรมทั้งหมดบนเครือข่าย ได้แก่

  1. ลายเซ็นวงแหวน (ring signatures) เพื่อซ่อนแอดเดรสที่ทำการส่งข้อมูล
  2. Ring Confidential Transactions (RingCT) เพื่อซ้อนปริมาณการทำธุรกรรม (ปัจจุบัน RingCT ถูกใช้เป็นค่าเริ่มต้นและจะมีการบังคับใช้ RingCT ตั้งแต่สิ้นปี 2017 เป็นต้นไป)
  3. แอดเดรสลับ (Stealth addresses) เพื่อซ่อนแอดเดรสที่ทำการรับธุรกรรม

ทั้งนี้ Monero อยู่ในระหว่างการพัฒนาวิธีการป้องกันที่สี่ ซึ่งวางแผนไว้เพื่อปกปิดโหนดต้นทาง (origin node) สำหรับการทำธุรกรรมใน I2P และ Kovri router ทั้งนี้ เนื้อหาในย่อหน้าต่อไปนี้จะกล่าวถึงเทคโนโลยีทั้ง 3 ข้อนี้อย่างละเอียดมากขึ้น

ดีมอนของ Monero นั้นใช้โปรโตคอล CryptoNote เดิม ยกเว้นในส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงในระยะแรก (เช่น ระยะเวลาบล็อกและความเร็วในการปล่อย XMR) สำหรับตัวโปรโตคอลเองนั้นจะใช้ “ลายเซ็นวงแหวนแบบใช้ครั้งเดียว (one-time ring signatures)” และใช้แอดเดรสลับ (stealth addresses) ทั้งนี้ การเข้ารหัสลับพื้นฐานนั้นมาจากไลบรารีของ Daniel J. Bernstein ซึ่งรองรับ Ed25519 โดยใช้ลายเซ็น ชนอรร์ (Schnorr signatures) บนเส้นโค้งบิด Twisted Edwards curve ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คืออัลกอริทึมที่ผ่านการทดสอบอย่างหนักและมีการผสมผสานกันระหว่างคุณสมบัติด้านการกระจายข้อมูล (decentralized) และบทบาทเชิงรับ (passive) เพื่อเตรียมวิธีการเข้าถึงข้อมูลมีประสิทธิภาพให้ผู้ใช้

อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัย Monero มีข้อเสนอเพื่อพัฒนาปรับปรุง Monero ในหลายประการ ซึ่งครอบคลุมการใช้ลายเซ็นวงแหวนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่มเพิ่มคุณภาพด้านความเป็นส่วนตัวให้มากขึ้น ซึ่งข้อเสนอนี้รวมไปถึง “นโยบายแบบผสมผสานทั่วเครือข่ายในระดับโปรโตคอลของตัวส่งออก n = 2 ต่อหนึ่งลายเซ็นวงแหวน (a protocol-level network-wide minimum mix-in policy of n = 2 foreign outputs per ring signature)” และ “วิธีการคัดเลือกตัวส่งออกจากข้อมูลทำธุรกรรมที่มีรูปแบบไม่สม่ำเสมอเพื่อสร้างวงแหวน (a nonuniform transaction output selection method for ring generation)” และ “วิธีการส่งออกข้อมูล Monero แบบ torrent (a torrent-style method of sending Monero output)” ผู้วิจัยระบุว่า การเปลี่ยนแปลง
ต่าง ๆ เหล่านี้ถูกใช้ใน “Hydrogen Helix” เวอร์ชั่น 0.9.0 ซึ่งช่วยปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้สกุลเงินกลุ่มที่ใช้โปรโตคอล CryptoNote (CryptoNote-based currency)

ผลที่ตามมาคือ Monero มีฟีเจอร์ Blockchain แบบทึบ (Opaque Blockchain) (พร้อม viewkey ซึ่งเป็นระบบการยินยอมให้เปิดเผย) ในทางตรงกันข้ามกับ Blockchain แบบโปร่งใส (Transparent Blockchain) จะใช้ในสกุลเงินอื่น ๆ ที่ใช้โปรโตคอล CryptoNote ดังนั้น Monero จึงถือได้ว่า “มีความเป็นส่วนตัวและโปร่งใสแบบทางเลือก (private, optionally transparent)”  ระบบนี้กำหนดความเป็นส่วนตัวที่เข้มงวดเป็นค่าเริ่มต้น (default) เช่น ระบบใช้ความเป็นกลางสุทธิ (net neutrality) สำหรับ Blockchain (ซึ่ง Miner ไม่สามารถกลายเป็นผู้ดักจับข้อมูลได้  เนื่องจากพวกเขาไม่ทราบว่าการทำธุรกรรมแต่ละธุรกรรมจะไปยังที่ใด และธุรกรรมดังกล่าวประกอบด้วยอะไรบ้าง) ในขณะที่ระบบยังคงอนุญาตให้สามารถทำการตรวจสอบเมื่อต้องการได้ (เช่น การตรวจสอบภาษี หรือการแสดงผลทางการเงินต่อสาธารณะของ NGO) นอกจากนี้ Monero ยังได้รับการยอมรับจากผู้ใช้หลายคนว่า เป็นสกุลเงินที่สามารถแลกเปลี่ยนได้อย่างแท้จริง

ในเดือนเมษายนปี 2017 งานวิจัยหลายฉบับได้วิพากษ์วิจารณ์วิธีการเลือกตัวป้อนเข้า (input) โดยการถกเถียงกันว่า วิธีการในปัจจุบันนี้ทำให้ง่ายต่อการเดาข้อมูลการทำธุรกรรมจริง ทั้งนี้ปี 2017 ข้อคิดเห็นของชุมชนผู้ใช้ Monero กำลังถูกนำมาใช้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างการเลือกข้อมูลเพื่อให้เกิดการใช้งานจริงที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

นักพัฒนา Monero มีการทำงานโดยใช้ C ++ I2P router ในการเขียนรหัสด้วย ซึ่งจะทำให้เกิดห่วงโซ่ความเป็นส่วนตัว (privacy chain) ที่มีการซ่อน IP addresses

Monero

การกระจายข้อมูล (Decentralisation)

Monero นั้นมีความเข้มแข็งจากกลไก Proof of Work โดยเฉพาะการใช้โครงสร้างอัลกอริทึมเพื่อการทำเหมืองข้อมูลที่สามารถทำงานผ่านอุปกรณ์นับพันล้านเครื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ (อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ CPU แบบ x86) นอกจากนี้ Monero ยังใช้อัลกอริทึม Proof of Work (PoW) ของ CryptoNight ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้ใน CPU ธรรมดาด้วย

ฟีจเจอร์การทำเหมืองข้อมูลแบบอัจฉริยะนี้ช่วยให้สามารถทำเหมืองข้อมูลที่โปร่งใส่โดยใช้ CPU จากผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลจากเหมืองข้อมูล และอยู่ไกลจากการรวมศูนย์ข้อมูลในเชิงพฤตินัย (facto centralization) ซึ่งการทำงานนี้เป็นไปตามแนวคิดดั้งเดิมด้านสกุลเงิน P2P ที่แท้จริง (a true P2P currency) ของ Satoshi Nakamoto โดยเหมืองข้อมูลอัจฉริยะนี้สามารถใช้งานได้ในทุกระบบการทำงานของ CLI wallet ยกเว้น MacOS

ความยืดหยุ่น (Scalability)

Monero ไม่มีการกำหนดขนาดบล็อกสูงสุดแบบ hard code ซึ่งหมายความว่า Bitcoin ไม่มีการกำหนดคำสั่งป้องกันบล็อกที่ใหญ่กว่า 1 MB อย่างไรก็ตาม Monero ได้สร้างกลไกการลงโทษผ่านระบบการให้รางวัลขึ้น (block reward penalty mechanism) ในโปรโตคอล เพื่อหลีกเลี่ยงการเพิ่มขนาดบล็อกที่ใหญ่เกินไป โดยขนาดบล็อกใหม่ (NBS) จะนำมาเทียบกับขนาดเฉลี่ย M100 ของบล็อกจำนวน 100 บล็อกสุดท้าย โดยหาก NBS> M100 รางวัลจากการสร้างบล็อกก็จะลดลงแบบยกกำลังสองตามจำนวนของ NBS ที่สูงกว่า M100 เช่น ถ้า NBS [10%, 50%, 80%, 100%] มากกว่า M100 ก็จะได้รับรางวัลน้อยลง [1%, 25%, 64%, 100%] ซึ่งโดยทั่วไปแล้วระบบจะไม่อนุญาตให้มีการสร้างบล็อกที่ใหญ่กว่า 2*M100 ทั้งนี้ บล็อกขนาด < = 60kB จะไม่ถูกโทษใด ๆ ในระบบการให้รางวัล

การใช้ระบบการเพิ่มค่าธรรมเนียมแบบไดนามิกที่ 0.10.1 นั้น ใช้สูตร ค่าธรรมเนียม = (R/R0)(M0/M)F0 เมื่อมีการใช้ Monero เพิ่มขึ้น ค่าบริการต่อรายการธุรกรรม (the per-transaction fees) ก็จะลดลงในขณะที่ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมทั้งหมด (the total transaction fees) จะเพิ่มขึ้น

ทีมงานหลักของ Monero ได้จัดทำระบบ OpenAlias ซึ่งทำให้มีแอดเดรสที่มนุษย์สามารถอ่านได้มากขึ้นและเพิ่มผัง Zooko’s triangle ให้มากขึ้นแบบยกกำลังสอง OpenAlias สามารถใช้งานกับสกุลเงินดิจิตอลใด ๆ ก็ได้ และถูกนำมาใช้งานแล้วใน Monero, Bitcoin (ในเวอร์ชัน Electrum) และ HyperStake

โครงการที่กำลังดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและโครงการเสริม (Ongoing work and side projects)

  • RingCT: วิธีการทำธุรกรรมลับใน Monero ซึ่งการทำธุรกรรมลับ (Confidential transactions, CT) เป็นวิธีการซ่อนมูลค่าของธุรกรรมใน Bitcoin
  • OpenAlias: ระบบการสร้าง alias จาก Blockchain
  • Kovri: โซลูชันด้านความเป็นส่วนตัว ซึ่งนำ I2P มาใช้ใน Monero
  • URS: แนวคิดด้านการตรวจสอบผู้ใช้ผ่านระบบการประเมินค่าแบบไม่ระบุตัวตน โดยใช้ลายเซ็นวงแหวน (ring signatures)
  • 0MQ: ไลบรารี C API ซึ่งเครื่องที่รับบริการ (clients) นำมาใช้เชื่อมต่อกับบริการดีมอนของ Monero
  • รหัสช่วยจำของ Electrum สำหรับการกำหนดรหัสใน webwallet
  • ทีมงานหลักของ Monero (Monero Core Team) ยังคงดำเนินการต่อไปเพื่อแยกระบบออกจากรหัส Bytecoin ดั้งเดิมที่มีแพทช์จำนวนมากและปรับปรุงการใช้โปรโตคอล CryptoNote
กาเหว่า
กาเหว่าhttp://konderntang.com
มีความชอบและหลงไหลในเทคโนโลยีทางด้านไอที การลงทุน และเงินคริปโต .. นอกจากนี้แล้วมักใช้เวลาว่างไปกับการท่องเที่ยว ถ่ายรูป ไปค่ายอาสา ..

Read more

Local News