Thursday, April 25, 2024

DeFi คืออะไร

Share

ย้อนกลับไปไม่กี่ปี พนักงานธนาคารถือว่าเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่มีความมั่นคงสูงเลยทีเดียว รายได้เยอะ สวัสดิการดี โบนัสแต่ละปีก็ไม่น้อย วงการอาชีพอื่น ๆ ก็อิจฉากันเป็นแถว ๆ แต่มันไม่ใช่ในยุคของบล็อคเชน ยุคของเทคโนโลยีที่กระทบไปในวงกว้างทุกสาขาอาชีพ ใครที่ขยับช้า มัวแต่ยึดติดกับความสำเร็จเดิม ๆ ก็มีโอกาสล้มเหลวได้ง่าย ๆ มีตัวอย่างให้เห็นเยอะมาก

DeFi หรือ Decentralized Finance เริ่มเป็นคำที่ได้ยินหนาหูตั้งแต่ประมาณปี 2018 (ราว ๆ นี้แหละ) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อมาจากบล็อคเชน โดยเน้นไปที่การเงินแบบไร้ตัวกลาง แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ไม่ใช่เหรอ? เรามาดูรายละเอียดกันดีกว่า ว่าทำไม DeFi (Decentralized Finance) ถึงเป็นประเด็นร้อนในวงการคริปโต

** ข้อมูลทั้งหมดเป็นการศึกษา ค้นคว้า รวบรวมจากหลายแหล่ง หากท่านใดคิดว่าส่วนไหนไม่ถูกต้อง เรายินดีรับคำชี้แนะ แจ้งกันมาได้เลย **

DeFi (Decentralized Finance) คืออะไร

ทบทวนอีกนิดถึงเนื้อหา DeFi คือ Decentralized Finance เป็นคอนเซ็บต์ทางการเงินที่จะไม่ให้มีองค์กรใดเป็นตัวกลางในการทำรายการทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร เว็บซื้อขาย .. การโอนเงิน การยืมเงิน รวมถึงทุกธุรกรรมทางการเงินที่เกิดขึ้นบน DeFi นี้จะเป็นการดำเนินการกันโดยตรงระหว่างผู้ส่งและผู้รับ อีกทั้งยังสามารถโอนเงินได้หลายสกุล เช่น ส่งเป็น ETH แต่ระหว่างส่งก็แปลงเป็น ETHO ให้ปลายทาง … ผลก็คือ ผู้รับจะได้รับเงินเป็น ETHO แทนนั่นเอง

ETHO = ETHO Protocol อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความนี้ Ether-1 เหรียญทางเลือกที่น่าลงทุน

ลองจินตนาการกันดู ว่าในอนาคตเราจะกู้ยืมเงิน หรือว่าส่งเงินหาใครก็ได้ในโลกนี้โดยไม่ผ่านธนาคาร … แล้วถึงวันนั้น ธนาคารจะยืนอยู่ตรงไหน?

ทำไมถึงมีการนำเทคโนโลยีการเงินแบบเดิม มาใช้งานกับบล็อคเชน

บิทคอยน์เริ่มเปิดตัวและนำมาใช้งานประมาณปี 2008 ในช่วงนั้นเป็นเพียงทางเลือกใหม่ทางการเงิน น้อยคนที่จะรู้จักและเชื่อมั่นในบิทคอยน์ สิบปีให้หลังสถานะของบิทคอยน์กลายเป็นทรัพย์สินดิจิตอลที่มีมูลค่ามหาศาล เป็นคริปโตอันนับหนึ่งในยุคที่คริปโตเฟื่องฟู

เมื่อมีการยอมรับบิทคอยน์และเทคโนโลยีบล็อคเชนในวงกว้าง เหล่าสถาบันการเงินมากมายก็เริ่มมีการปรับตัวนำบล็อคเชนมาประยุกต์ใช้งาน เพราะความน่าเชื่อถือของบล็อคเชน ความปลอดภัยในเครือข่ายที่ได้ออกแบบมาตั้งแต่ต้น ซึ่งเราจะเห็นได้ว่ามีหลาย Start up เกิดขึ้น จากเดิมจะระดมทุนจากนายทุนใหญ่ ๆ แต่เพราะเทคโนโลยีบล็อคเชน จึงได้เปลี่ยนการระดมทุนเป็นการออก Token Digital แทนเงินแบบดั้งเดิม ทำให้มีการแลกเปลี่ยนเงินเป็นจำนวนมาก

เมื่อมีการใช้งานคริปโตมากขึ้น การแลกเปลี่ยนก็เติบโตขึ้นตาม แต่ก็ยังคงต้องมีตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่าง ๆ เหล่านี้อยู่ดี เพราะเหตุนี้เองทำให้เกิด Decentralized Finance (DeFi) เพื่อทลายข้อจำกัดต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการมีตัวกลางในการแลกเปลี่ยน ส่งผลประโยชน์สูงสุดให้กับผู้ใช้

ตัวอย่างการนำ DeFi (Decentralized Finance) มาใช้งาน 

กู้เงิน ยืมเงิน (Lending, Borrowing)

ปกติแล้วคนที่มีเงินคริปโตส่วนมากมักจะทำการซื้อขายเพื่อเอาส่วนต่างกำไร หรือบางส่วนก็เก็บเอาไว้ให้ราคาขึ้นสูงแล้วจึงขายออกไป การกู้ยืมออนไลน์นี้จะให้ผู้ที่มีเหรียญอยู่ในมือเอาเหรียญเหล่านั้นมาวางไว้เป็นหลักประกันแล้วก็รับเป็นเหรียญชนิดอื่นไป และจะได้รับเหรียญคืนเมื่อนำมาคืนจนครบ ซึ่งคอนเซ็บต์แบบนี้เป็นการกระตุ้นให้มีการใช้จ่ายเงินคริปโต เมื่อมีการใช้จ่ายมากขึ้นมูลค่าของมันก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ตัวอย่าง defi platform debank

สามารถดูตัวอย่างแพลตฟอร์มที่ให้บริการ Online Lending ได้จากเว็บไซต์ debank.com 

แน่นอนว่าอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับจากการปล่อยกู้เหรียญคริปโตนั้นจะได้รับมากกว่าการฝากเงินธนาคารมาก ใครที่ปล่อยให้กู้เยอะก็จะได้รับดอกเบี้ยเยอะตามไปด้วย ถือว่าเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้แบบ Passive Income ให้เจ้าของเงินคริปโต แทนที่จะเก็บไว้เฉย ๆ 

แลกเปลี่ยนเงินคริปโต โดยไม่ผ่านคนกลาง

ปกติแล้วการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินคริปโตจะต้องดำเนินการผ่านคนกลางไม่ต่างจากการซื้อขายหุ้นที่ต้องมีตลาดหุ้นเป็นผู้ดำเนินการให้ แต่ DeFi จะเป็นการแลกเปลี่ยนโดยตัดผู้ให้บริการเหล่านั้นทิ้งไป ผู้ใช้สามารถแลกเป็นเงินคริปโตชนิดอื่น ได้โดยตรง

การทำฟาร์มดิจิตอล (Liquidity Mining & Yield Farming)

ในที่นี่ไม่ใช่ฟาร์มสำหรับปลูกต้นไม้ แต่เป็นการล๊อคเหรียญเอาไว้ไม่เอาออกมาใช้งาน และได้รับผลตอนแทนกลับมา บางทีก็จะได้กลับมาเป็นเหรียญคริปโตชนิดอื่น 

การซื้อขายหุ้น / อนุพันธ์

การขายประกัน

รายการข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างที่นำ DeFi มาประยุกต์ใช้งาน จะเห็นได้ว่า สามารถเอาไปใช้งานได้กับทุกธุรกิจ หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม ลองดูได้จากลิงค์นี้ DeFi Pulse.

ความเสี่ยงของ DeFi คืออะไร?

เกริ่นมานานอ่านแล้วก็เหมือนกับว่า DeFi มีแต่ข้อดีมากมายไปหมด มันไม่ใช่แบบนั้น เหรียญย่อมมีสองด้านไม่ต่างกัน ความเสี่ยงในการใช้งาน DeFi ในนี้แบ่งได้เป็นสองแบบ ดังนี้

Technical Risk : 

ความเสี่ยงแบบนี้เป็นเรื่องทางเทคนิคของเทคโนโลยีที่เราไม่รู้ว่ามันมีจุดโหว่ตรงไหนบ้าง เราเห็นข่าวอยู่เสมอ ๆ ว่าเดี๋ยวเว็บนู้นโดนแฮ่ก เว็บนี้โดนแฮ่ก ถ้ามองไม่แง่ของสถาปัตยกรรมทางด้านไอที ต่อให้ออกแบบมาดีแค่ไหน สุดท้ายแล้วก็โดนแฮกเกอร์หัวใส หาจุดโหว่และแฮกได้อยู่ดี ถ้าเกิดเหตุการณ์เหล่านั้นขึ้นมาจริง ๆ เงินคริปโตที่เรามีอาจจะสูญหายเพียงเสี้ยววินาทีก็ได้

Financial Risk : 

แพลตฟอร์มที่ให้บริการ DeFi ส่วนใหญ่มีกฎว่าจะต้องมีการฝากสินทรัพย์ดิจิตอลเอาไว้จำนวนหนึ่ง จึงจะสามารถใช้บริการได้ ด้วยเงื่อนไขแบบนี้ทำให้ต้องมีตัวกลางในการให้กู้ยืมออนไลน์กันอยู่ดี ถ้าเกิดวันดีคืนดีแพลตฟอร์มเหล่านี้ปิดตัวลง เงินก็หายเหมือนกัน มีตัวอย่างให้เห็นกันอยู่เนือง ๆ นั่นเอง


ในวงการไอทีและคริปโตหลายคนเชื่อว่า DeFi จะเข้ามาแก้ไขปัญหาเหลื่อมล้ำต่าง ๆ ของการเงินลงไปได้ คงต้องให้เวลาพิสูจน์ซึ่งคงใช้เวลาอีกไม่นาน แต่ที่เชื่อได้แน่นอนก็คือ ถ้าสถาบันการเงินยังคงไม่รีบขยับตัวเองตั้งแต่เดี๋ยวนี้ เราคงเห็นหลาย ๆ ที่ในวงการนี้ทยอยล้มหายตายจากกันไปเรื่อย ๆ 


อ้างอิง

https://www.bitwala.com/blog/what-is-decentralized-finance/ 

กาเหว่า
กาเหว่าhttp://konderntang.com
มีความชอบและหลงไหลในเทคโนโลยีทางด้านไอที การลงทุน และเงินคริปโต .. นอกจากนี้แล้วมักใช้เวลาว่างไปกับการท่องเที่ยว ถ่ายรูป ไปค่ายอาสา ..

Read more

Local News